วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ในปี 2012


    ปี .. 2554 ผ่านไปพ้น หลังจากที่ผ่านประสบการณ์เลวร้าย จากภัยธรรมชาติที่สร้างผลกระทบให้กับคนทั้งประเทศ ซึ่งแม้จะก้าวเข้าสู่ปี .. 2555 ก็ยังมีประชาชนในบางส่วนของประเทศที่ยังได้รับความเดือนร้อนจากอุกทภัย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนส่งผลให้การก้าวขึ้นเข้าสู่ ปี .. 2555 หรือปี .. 2012 เต็มไปด้วย ความหวั่นวิตกทั้งจากคำทำนายซึ่งเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ ความวิตกกังวลอาจทำให้เราอาจลืมเลือนไปว่า ในปีค.. 2012 ยังมีปรากฏการณ์ทางจันทร์ที่น่าสนใจ ให้ศึกษาและเฝ้าสังเกตการณ์
        ในปี .. 2012 มีปรากฏการณ์ท้องฟ้าที่น่าสนใจ ที่ผ่านการคำนวนวัน เวลา ที่ปรากฏแน่นอนอยู่มากมาย แม้บางปรากฏการณ์ไม่สามารถสังเกตุเห็นได้ในประเทศไทย แต่สำหรับผู้สนใจอยากได้ข้อมูลเพื่อศึกษาค้นคว้าสามารถติตตามและหาข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ตได้ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในปี ..2012 มีลำดับการเกิดตามวันและเวลา ที่แน่นอน มีดังนี้
        ดาวอังคารเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 26 เดือน 5 มีนาคม 2555 ด้วยพื้นผิวที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กออกไซด์ เมื่อมองจากโลกจะเห็นดาวส่องประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า “ดาวเคราะห์สีแดง” จึงเป็นฉายาของดาวอังคาร ดาวเคราะห์ที่มนุษย์ส่งยานไปสำรวจมากที่สุดในระบบสุริยะ ในวันที่ 3 มีนาคม ..2555 ดาวอังคารโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่ง “ตรงข้าม” (opposition ตำแหน่งที่ดาวอังคาร โลก และดวงอาทิตย์ เรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันและจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2555 ที่ระยะทาง 100 ล้านกิโลเมตร เมื่อมองจากโลก ดาวอังคารจะมีลำดับความสว่าง -1.2 ซึ่งนับว่าสว่างมากกว่าปกติมาก และมีขนาดเชิงมุมปรากฏ13.5 อาร์ควินาที (สว่างมากกว่าดาวอังคารในช่วงที่สว่างน้อยที่สุดประมาณ17 เท่าดาวอังคารขึ้นเวลา 18:16 ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตกในเวลา 06:41ของวันที่ 6 มีนาคม 2555 ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยปรากฏบนท้องฟ้าทิศใกล้กลุ่่มดาวสิงโต 

 
(ซ้ายดาวอังคารในตำแหน่ง ตรงข้ามดวงอาทิตย์ ในช่วง ปี 2003 -2018 ซึ่งดาวอังคารเข้าใกล้โลกที่สุดผ่านไปเมื่อปี ..2003(ภาพโดย Bob King: astrobob.areavoices.com) (ขวาในวันที่ 5 มีนาคม 2555ดาวอังคารจะปรากฏบนทท้องฟ้าตลอดทั้งคืน ผู้ที่สนใจการดูดาวและศึกษาดาราศาสตร์จะมีโอกาสในเฝ้าสังเกตการณ์ตั้งแต่หัวค่ำ จนถึงรุ่งสางของวันถัดไป 


        สุริยุปราคาวงแหวน 21 พฤษภาคม 2555 เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาราคาขึ้นเงาของดวงจันทรจะทอดลงบนพื้นโลก สิ่งที่ปรากฏแก่สายตาของผู้เฝ้าสัเกตุการณ์คือการที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ลดลง รูปร่างของดวงอาทิตย์จะเกิดเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ที่เปลี่ยนรูปร่างในแต่ละคืน หรือถูกบังจนหมดทั้งดวงขึ้นอยู่กับรูปแบบการบัง สุริยุปราคาในวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 เป็นแบบวงแหวน” เพราะดวงจันทร์ทั้งดวงดวงเคลื่อนที่เข้าบังดวงอาทิตย์แต่เนื่องจากขนาดปรากฏของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า ทำให้ไม่สามารถบังดวงอาทิตย์ได้หมดทั้งดวง เราจะเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นวงแหวนกลางท้องฟ้า เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่อยู่ในบริเวณที่สามารถสังเกตุเห็นสุริยุปราคาแบบวงแหวนได้ เพราะแนวการบังของดวงจันทร์ จะเริ่มต้นที่ ทางตอนใต้ของประเทศจีน ในเวลา 05:06ตามเวลาประเทศไทย และเคลื่อนที่ไปทางตะวันออก ผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงทวีปอเมริการวมระยะทางของเงาดวงจันทร์ 7,000 กิโลเมตร สิ้นสุดการบังเวลา 20:17 .ตามเวลาประเทศไทย ประเทศที่สามามารถสังเกตุเห็นสุริยุปราคาวงแหวน คือประเทศญี่ปุ่น เมืองหลวงโตเกียวซึ่งอยู่ในแนวศูนย์กลางของการเกิดสุริยุปราคาส ส่วนในประเทศไทยสามารถชมปรากฏการณ์ครั้งนี้ในแบบสุริยุปราคาบางส่วน ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 05:50 .ยังสามารถมองเห็นการบังได้ก่อนสิ้นสดุการบังที่เวลา 06:06 ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของวันที่เกิดสุริยุปกราคาเนื่องจากดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ขอบฟ้าอาจมีเมฆบังทำให้มองไม่เห็นดวงอาทิตย์ขณะเกิดปรากฏการณ์ผู้ที่สนใจสามารถติดตามการถ่ายทอดปรากฏการณ์ได้จากอินเตอร์เน็ตซึ่งถ่ายทอดมาจากผู้สังเกตการณ์ในบริเวณที่สามารถสังเกตเห็นได้

 
(ซ้ายลำดับการเปลี่ยนรูปร่างของดวงอาทิตย์ขนะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน
(ขวาข้อมูลโดยละเอียดของการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน(ภาพจาก http://eclipse.gsfc.nasa.gov)


        การเรียงตัวในแนวเดียวกันของ โลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏซ้อนทับกันบนท้องฟ้า แต่ขนาดปรากฏของดวงจันทร์เล็กกว่าดวงอาทิตย์เวลาที่จุดศูนย์กลางของวัตถุทั้งสองตรงกันทำให้ดวงจันรทร์่บังดวงอาทิตย์ไม่หมด จะปรากฏเป็นวงแหวนบนท้องฟ้า(ภาพวงแหวนที่ถ่ายได้เกิดจากการใช้แผ่นกรองแสง แม้ว่าจะถูกบังเกือบหมดแต่ความสว่างก็อันตรายต่อการมองด้วยตาเปล่าหรือถ่ายเซนเซอร์ของกล้องถ่ายภาพที่ปราศจากฟิลเตอร์)สุริยุปราคาครั้งนี้ลักษณะวงแหวนอย่างชัดเจนเนื่องจากดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เป็นพื้น แค่ 94%

        จันทรุปราคาบางส่วน 4 มิถุนายน 2555 ย่างเข้าสู่เดือนมิถุนายน ในเดือนเดียวมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจถึงสองปราฏการณ์ เริ่มจากจันทรุปราคาบางส่วน ซึ่งเป็นจันทรุปราคา ครั้งแรกของ ปี 2012 ดวงจันทร์จะเข้าไปอยู่ในเงาของโลก ตั้งแต่เวลา 15:48 และมีเริ่มมีการเว้าแหว่งตั้งแต่เวลา 16:58 โดยดวงจันทร์่จากที่เห็นเต็มดวงจะเริ่มเว้าแหว่งมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงเวลา 18:03ก็จะเริ่มกลับสู่การเต็มดวงอย่างช้าๆ อีกครังสำหรับประเทศไทยดวงจันทร์ขึ้นพ้นจากเส้นขอบฟ้าเวลา 18:41 ซึ่งยังไม่สิ้นสุดการบัง ดังนั้นผู้สังเกตที่อยู่ในประเทศไทยยังมีโอกาสได้ชมปรากฏการณ์นี้ในช่วงท้ายก่อนสิ้นสุดการบังที่เวลา 20:18 ขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้าเพราะดวงจันทร์เพิ่งพ้นจากขอบฟ้า อาจมีเมฆบดบังทำให้ไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของปรากฏการณ์

  
(ซ้ายรูปแบบของการเกิดจันทรุปราคาในแบบต่างๆ(ภาพจาก www.physics.hku.hk/) (กลางจันทรุปราคาที่ปรากฏเมื่องมองจากโลก
(ขวาตารางการแสดงรายละเอียดการเกิดจันทรุปราคา(ภาพจาก http://eclipse.gsfc.nasa.gov/OH/OHfigures/OH2012-Fig03.pdf)

        ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ วันที่ 6 มิถุนายน 2555 ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์จุดเด่นของ ปี .. 2012 ปรากฏการณ์นี้ก็เหมือนกับการเกิดจันทรุปราคา นั้นคือการที่มีวัตถุโคจรเข้ามาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ โดยเรียงตัวเป็นเส้นตรง ต่างกันที่ดาวศุกร์มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ( ถ้าเปรียบเทียบขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ลูกบาสเกตบอล ขนาดของดาวศุกร์ทีปรากฏผ่านหน้าจะมีขนาดปรากฏพอๆกับเม็ดถั่วเขียวปรากฏเป็นวงกลมเล็กๆเคลื่อนที่ตัดผ่านดวงอาทิตย์ ซึ่งเมื่อมองจากโลกดวงอาทิตย์เองก็มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆบนท้องฟ้า(ข้อควรระวัง ในการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ต้องใช้แผ่นกรองแสงที่ผ่านการรับรองความปลอดภัยแล้วเท่านั้นซึ่งปราฏการณ์นี้เกิดขึ้นล่าสุดเมื่อปี .. 2004 แต่ถ้าพลาดครั้งนี้ไปแล้วจะต้องรออีก 105 ปีถึงจะเกิดปรากฏการณ์นี้อีกครั้ง


 
(ซ้ายรูปแบบการเรียงตัวของดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และโลก ขนะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (ภาพจาก http://www.maya12-21-2012.comขวา ดาวศุกร์ปรากฏผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อมองผ่านแผ่นกรองแสง (ภาพโดย Giovanni Paglioli)

 
(ขวารายละเอียดเกี่ยวกับวันและเวลาของการเกิด ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ในช่วงต่างๆ ตามเวลาสากล (ซ้ายตำแหน่งต่างๆบนโลกซึ่งสามารถสังเกตการณ์ได้ (ภาพจาก http://eclipse.gsfc.nasa.gov/transit/venus0412.html) สามารถติดตามข้อมูลและชมปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้จากเว๊ปไซต์ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)

        เวลาเช้าของวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ที่ตำแหน่งประเทศไทยดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าเวลา เวลา 05:52 ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเริ่มต้นเวลา05:09 .ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งหมายความว่าที่ประเทศไทยจะไม่สามารถเห็นปรากฏการณ์ตอนที่เงาของดาวศุกร์แตะขอบดวงอาทิตย์ หลังจากดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าจะปรากฏเงาของดาวศุกร์อยู่ด้านหน้าของดวงอาทิตย์ จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือและเคลื่อนกินพื้นที่เข้ามาลึกที่สุดเวลา 07:29แล้วจะเริ่มเคลื่อนที่ออกจากด้านหน้าของดวงอาทิตย์จนกระทั่งสิ้นสุดปรากฏการณ์เวลา 11:49 

        สุริยุปราคาเต็มดวง 14 พฤศจิกายน 2555 หลังจากผ่านพ้นฤดูฝน เข้าสู่ฤดูหนาว เข้าสู่ช่วงท้ายของปี .. 2012 ปรากฏการณ์ทางยังมีให้ติดตามเฝ้าติดตามกันอย่างไม่ขาดสาย ไม่มากนักสำหรับโอกาสที่จะเกิดสุริยุปราคาสองครั้งในปีเดียวกัน สำหรับสุริปราคาครั้งที่สอง ของปี .. 2012นั้นเป็นแบบเต็มดวง แต่ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทยเพราะศูนย์กลางของการเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวง(พื้นที่ซึ่งทำให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบดบังแสงทั้งหมด ทำให้บริเวณนั้นเกิดสภาพคล้ายกลางวันกลายเปลี่ยนเป็นกลางคืนชั่วขนะเคลื่อนที่ผ่านผ่านบริเวณพื้นที่แคบๆทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิ ที่แทบจะไม่มีพื้นแผ่นดินให้ยืนตั้งมั่นเพื่อเฝ้าสังเกตการณ์ยกเว้นตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ซึ่งดวงจันทร์เริ่มเข้าบังดวงอาทิตย์เต็มดวง 03:35 ตามเวลาประเทศไทย (เป็นเวลา 20:35 ของวันที่ 13 พฤศจิกายน 2555 ตามเวลาสากลโดยเงามืดของดวงจันทร์เคลื่อนที่ต้นตั้งแตจากอุทยานแห่งชาติ Garig Ganak Barlu ทางเหนือของเมือง Darwin 250 กิโลเมตร ลงใต้ผ่านอ่าว Carpentaria ขึ้นสู่แผ่นดินอีกครั้งที่Cape York Peninsula ที่เวลา 03:37 สถานที่เหมาะสมในการเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์นี้คือ เมือง Cairns ทางฝั่งตะวันตกของ Queenlandซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางของเส้นทางเงามืด 30 กิโลเมตร ซึ่งสามารถชมปรากฏการณ์ได้นาน 2 นาที  หลังจากผ่านผืนทวีปไปเงามืดของดวงจันทร์ จะผ่านมหาสมุทรแปซิกฟิกก่อนที่จะไปสิ้นสุดที่บริเวณตอนใต้ของประเทศชิลี เวลา 06:48 โดยมีช่วงเวลาที่เกิดสุริยุปราคายาวนานที่สุด 4 นาที 2วินาที ส่วนบริเวณที่พอจะเห็นปรากฏการณ์นี้ในแบบสุริยุปราคาบางส่วนได้นั้นกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ 

  
(ซ้ายรายละเอียดการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2012 (ภาพโดย http://eclipse.gsfc.nasa.gov) (ขวาแผนที่ Cape York Peninsula (ภาพโดยhttp://en.wikipedia.org/wiki/Cape_York_Peninsula)

        ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์หรือฝนดาวตกวันแม่ 12 สิงหาคม 2555  เศษอุกกาบาตดาวหาง 109P/Swift-Tuttle  ที่ถูกทิ้งไว้เมื่อผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ในปี ..1992 ได้ทำให้เกิดฝนดาวตกเพอร์เซอิด เกิดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนกรกฏาคม ถึงปลายเดือน สิงหาคม คาดว่าจะตกมากที่สุดในวันที่ 12สิงหาคม 2555 ในช่วงที่ฝนดาวตกมากที่สุดอาจมีจำนวนดาวตกมากถึง 40-60 ดวต่อชั่วโมง แต่ในปี ..2555 คาดการไว้ว่าจำนวนดาวตกจะมีไม่มากนัก แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้เสมอ 

 
(ซ้ายฝนดาวตกเพอร์เซอิด เป็นฝนดาวตกที่มีจำนวนดาวตกมาก และสามารถเห็นได้ชัดเจน ซึ่งมีศูนย์กลางของการกระจายอยู่ในกลุ่มดาวเพอร์ซิอุส ซึ่งเป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ  (ภาพโดย Fred Bruenjes : http://apod.nasa.gov) (ขวา)ตำแหน่งของกลุ่มดาวเพอร์ซิอุสบนท้องฟ้า (ภาพโดย www.meteoshoweronline.com)


        สำหรับประเทศไทยเวลาที่เหมาะสมกับการเฝ้ามองฝนดาวตกเพอร์เซอิดได้ตั้งแต่วันที่ 12-13 สิงหาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 22:00 .จำนวนดาวตกจะเพิ่มเรื่อยและมากที่สุดประมาณ 03:00-04:00 ของเช้ามืดวันถัดไปในปีนี้คาดการณ์ว่าวันที่ 13 สิงหาคม 2555 จะมีฝนดาวตกมากที่สุด ส่วนการรบกวนด้วยแสงจากดวงจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้าเป็นเวลา 01:00 .นั้นค่อนข้างน้อยเนื่องจากดวงจันทร์ มีรูปร่างเป็นเสี้ยว แต่ปํญหาที่พบมากสำหรับการสังเกตการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดในประเทศไทยคือช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในฤดูฝน ภาคเหนือและภาคกลางมักมีเมฆหนาทึบปกครองตลอดทั้งคืน แต่ผู้สังเกตที่อยู่ภาคใต้จะมีโอกาสดูฝนดาวตกมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ

        ฝนดาวตกกลุ่มดาวลีโอนิดส์ 17-18 พฤศจิกายน 2555 หลังจากประเทศไทยผ่านพ้นฤดูฝน ย่างเข้าสู่ฤดู หนาวซึ่งถึอว่าเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการเฝ้าดูปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เริ่มต้นด้วยปรากฏการณ์ฝนดาวตกกลุ่มดาวเจมินิดส์ซึ่งเกิดจาก เศษอุกกาบาตที่ถูกดาวหาง 55P/Tempel-Tuttleทิ้งไว้ขวางเส้นทางโคจรของโลก ตอนที่โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี .. 2541 เมื่อโลกโคจรผ่านบริเวณดังกล่าวจึงดึงดูดชิ้นส่วนเหล่านี้เข้าสู่ขั้นบรรยากาศกลายเป็นฝนดาวตก โดยมีอัตราเฉลี่ย 10-15 ดวงต่อชั่วโมง โดยกลุ่มดาวสิงโตซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของการกระจายของฝนดาวตกขึ้นจากขอบฟ้าตั้งแต่เที่ยงคืน โดยในปีนี้คาดว่าจะมากที่สุดในช่วงคืนวันที่17 ข้ามไปถึงเช้ามืดของวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งในช่วงนี้ดวงจันทร์อยู่ในช่วงข้างขึ้น มีลักษณะเป็นเสี้ยวบาง และตกในเวลา 21:25 ของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 ดังนั้นแสงจันทร์จึงไม่เป็นอุปสรรคในการเฝ้าดูฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงห์โต

 
(ช้ายฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงห์โตมีลักษณะโดดเด่น สังเกตุได้ง่ายเพราะมีขนาดใหญ่และสว่าง สามารถพบเห็นเป็นลักษณะของลูกไฟ (fireball) มากกว่าดาวตกกลุ่่มดาวอื่น (ภาพจากhttp://www.oasi.org.uk) (ขวากลุ่มดาวสิงโต(ภาพจาก http://urbanastronomer.blogspot.com)

        จันทรุปราคาเงามัว 28 พฤศจิกายน 2555 นับเป็นจันทรุปราคาครั้งที่สองของปี .. 2012 เป็นแบบ “เงามัว” ซึ่งความสว่างของดวงจันทร์จะลดลงอย่างชัดเจนจนสามารถสังเกตุเห็นด้วยตาเปล่า โดยจะมืดลงจากทางด้านเหนือของดวงจันทร์ โดยเริ่มต้นปรากฏการณ์เมื่อดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวเวลา 19:14 ตามเวลาประเทศไทย และเข้าสู่เงามัวทั้งดวงเวลา 21:33 และสิ้นสุดปรากฏการณ์ 23:51ในสถานะการณ์จริงการสังเกตุการจันทรุปราคาเงามัวตอนที่เริ่มและสิ้นสุดปรากฏการณ์ ด้วยตาเปล่าแทบจะไม่สามารถสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง จนกระทังดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวไปแล้ว2/3 ของพื้นที่ปรากฏของดวงจันทร์ ซึ่งก็อยู่ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวมากที่สุดด้วย

รายละเอียดการเกิดจันทรุปราคาเงามัว ซึ่งประเทศไทยสามารถเฝ้า สังเกตการณ์ได้ตลอดการเกิดปรากฏการณ์ (ภาพโดยhttp://eclipse.gsfc.nasa.gov)

        ฝนดาวตกเจมินิดส์ 13 ธันวาคม  2555  ปรากฏการณ์สุดท้ายของปีค.. 2012 เป็นฝนดาวตกซึ่งขึ้นชื่อเรื่องของจำนวนดาวตกมากกว่าฝนดาวตกชุดอื่นๆ ด้วยจำนวนดาวตกเฉลี่ย 120-160 ดวงต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้า ฝนดาวตกเจมิดส์มีช่วงเวลาการตกสูงสุดยาวนานหลายชั่วโมงดังนั้นเมื่อกลุ่มดาวคนคู่ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของการกระจาย พ้นขอบฟ้าในเวลาประมาณ 20:00 ของวันที่ 13 จำนวนของดาวตกจะเพิ่มขึ้นจนกระทั้งช่วงเวลา 02:00-04:00 ของวันที่ 14 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นช่วงที่มีดาวตกมากที่สุดคาดว่าอาจเกิน 100 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งในวันดังกล่าวเป็นช่วงเดือนมืดซึ่งแสงดวงจันทร์ไม่รบกวนการชมฝนดาวตกเช่นกัน

ภาพแสดงกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ (ภาพจากhttp://meteorshowersonline.com)


        ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำแหน่งของดาวเคราะห์รวมถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับและมีความน่าสนใจอื่นๆ ตามกำหนดเวลาดังนี้
        28 เมษายน 2555 ดาวเสาร์ อยู่ตำแหน่ง “ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์” โดยปรากฏในกลุ่มดาวหญิงสาวใกล้เคียงกับดาวฤกษ์ชื่อ spica ขึ้นพ้นขอบฟ้าเวลา17:34 ตามเวลาเทศไทย และวันที่ 3 ธันวาคม 2555 ดาวพฤหัสบดีอยู่ตำแหน่ง ตรงข้าม ปรากฏในกลุ่มดาววัว
        ซ้ายช่วงเวลาดังกล่าวเป็นตำแหน่งที่ดาวเคราะห์วงนอก อยุ่ห่างจากโลกน้อยที่สุดเหมาะสมกับการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์


ตำแหน่ง ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เป็นตำแหน่งในวงโคจรของดาวเคราะห์วงนอก ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่าได้คือดาวอังคาร ซึ่งสามารถมองเห็นความแตกต่างของความสว่างได้มากที่สุด ส่วนดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์เห็นความเปลี่ยนแปลงของความสว่างได้น้อยมาก(ภาพจากhttp://astronomy.swin.edu.au)


        นอกจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วในปี .. 2012 ยังมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจและสมควรติดตาม คือการลงจอดบนดาวอังคาร ของยานสำรวจภาคพื้น Curiosity ที่มีเทคโนโลยี่ล้ำหน้าที่สุดของยานสำรวจดาวเคราะห์ ตามภาระกิจ Mars science laboratory จะลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคาร ในวันที่ 5สิงหาคม 2555

ยานสำรวจ Curiosity พร้อมกับอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์วิโดยมีเป้าหมายหลักคือการค้นหาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และศึกษาสภาพแวดล้อมของดาวอังคารเพื่อวางแผนสำหรับการส่งมนุษย์ไปเยือนดาวอังคารในอนาคต

 

วัน/เดือน/ปี
ปรากฏการณ์
ช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์
การสังเกตการณ์ในประเทศไทย
อุปกรณ์
5 มีนาคม 2555
ดาวอังคารเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกมากที่สุด
18:16- 06:41น. ของวันที่ 6 มีนาคม 2555
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย
ตาเปล่า,กล้องสองตา,กล้องโทรทรรศณน์
28 เมษายน 2555
ดาวเสาร์อยู้่ในตำแหน่งตรงข้าม
ตลอดทั้งคืน
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย
ตาเปล่า,กล้องสองตา,กล้องโทรทรรศณน์
21 พฤษภาคม 2555
สุริยุปราคาวงแหวน
05:00-20:17 น.
สังเกตการณ์ได้จากประเทศไทยในรูปแบบของสุริยุปราคาบางส่วน
แผ่นกรองแสงอาทิตย์,กล้องโทรทรรศน์
4 มิถุนายน2555
จันทรุปราคาบางส่วน
15:48-18:03 น.
สามารถสังเกตการณ์ได้จากประเทศไทย ในช่วงท้ายของปรากฏการณ์
ตาเปล่า,กล้องสองตา,กล้องโทรทรรศณน์
6 มิถุนายน2555
ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
05:09-11:49 น.
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย
กล้องโทรทรรศน์ ติดตั้งแผ่นกรองแสงอาทิตย์
5 สิงหาคม 2555
ยาน Curiosity ในภารกิจ Mars science laboratory ลงจดบนดาวอังคาร
-
ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้จากประเทศไทย
ติดตามจากการแถลงการของ นาซา
12-13 สิงหาคม 2555
ฝนดาวตกเพอร์เซอิดหรือฝนดาวตกวันแม
22:00-04:00ของเช้าวันถัดไป
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสภาพท้องฟ้า ทางภาคใต้มีโอกาสได้ชมปรากฏการณ์มากกว่าภาคเหนือและภาคกลาง
ตาเปล่า
14 พฤศจิกายน 2555
สุริยุปราคาเต็มดวง
03:35-06:48 น.
ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้จากประเทศไทย
แผ่นกรองแสงอาทิตย์,กล้อง โทรทรรศน์
17-18 พฤศจิกายน 2555
ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงห์โต
00:00 - 04:00 น
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย
ตาเปล่า

28 พฤศจิกายน 2555
จันทรุปราคาเงามัว
21:33-23:51 น.
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย
ตาเปล่า,กล้องสองตา,กล้องโทรทรรศณน์
3 ธันวาคม 2555
ดาวพฤหัสอยู่ตำแหน่งตรงข้าม
ตลอดทั้งคืน
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย
ตาเปล่า,กล้องสองตา,กล้องโทรทรรศณน์
13 ธันวาคม 2555
ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่
ตลอดทั้งคืนของันที่ 13 และมากที่สุดเวลา 02:00-04:00 ของวันที่ 14
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย
ตาเปล่า

 
ตาราง แสดงปรากฏการณ์และเหตุการทางดาราศาสตร์ ในปี .. 2012

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เผยน้ำแข็งเกาะกรีนแลนด์ละลายเร็วกว่าที่คิด


Melting water from a glacier in Greenland runs into the ocean. (Credit: Photo by Sebastian Mernild)

ภาวะโลกร้อนอาจจะรุนแรงกว่าที่เราคิดไว้เสียอีก เพราะจากการศึกษาล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ พบว่า แผ่นน้ำแข็งที่เกาะกรีนแลนด์กำลังละลายเร็วกว่าที่เราคาดไว้เสียอีก
ผลการศึกษาของนักวิจัยจาก University of Alaska Fairbanks ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Hydrological Processes ชี้ชัดว่าการละลายของแผ่นน้ำแข็งนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลของโลกถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา และยังแสดงให้เห้ฯว่าตอนนี้ระดับน้ำทะเลเพิ่งสูงขึ้นกว่า 3 มิลลิเมตรต่อปีแล้ว มากกว่าค่าเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
Sebastian H. Mernild นักวิจัยของ UAF และทีมงานจากสหรัฐอเมริกาอังกฤษ และเดนมาร์กค้นพบว่าในช่วงปี1995 ถึง 2007 นี้ ฝนน้ำแข็งที่ตกบริเวณแผ่นน้ำแข็งมีปริมาณลดลง ประกอบกับการระเหย ละลายของแผ่นน้ำแข็งกลับเพิ่งสูงขึ้น
จากข้อมูลใหม่ของ Mernild นี้พบว่า นับตั้งแต่ปี 1995 แผ่นน้ำแข็งสูญหายไปเกือบ 265 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี อันเป็นผลให้ระดับน้ำทะเลของโลกเพิ่มขึ้นปีละ 0.7 มิลลิเมตร และยังไม่รวมการเพิ่มของระดับน้ำทะเลจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นด้วย โดยการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำแข็งนี้เกี่ยวข้องกับความร้อนด้วย ฉะนั้นตัวเลขนี้อาจจะเพิ่มเป็น 2 เท่าเลยทีเดียว
แผ่นน้ำแข็งบริเวณเกาะกรีนแลนด์นี้ได้รับความสนใจจากนักวิจัยหลายสำนักมาหลายปีแล้วสำหรับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศหรือที่เข้าใจกันในชื่อ"ภาวะโลกร้อน" เมื่อปลายปี 2000 ถึงต้นปี 2001 และในปี2007 นั้น ธารน้ำแข็งจากแผ่นดินเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 44 ตารางไมล์แล้ว และตอนนี้นักวิจัยกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ว่ามีผลต่อความเร็วในการละลายของแผ่นน้ำแข็งอย่างไรบ้าง
น้ำแข็งที่ละลายเนื่องจากอุณหภูมิของมหาสมุทรอาร์กติกที่สูงขึ้นนี้มีผลกระทบต่อมหาสมุทรอยู่ 2 ประการด้วยกันคือ หนึ่ง ทำให้ระดับน้ำทะเลของโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย และสองคือน้ำแข็งที่ละลายนั้นจัดว่าเป็นน้ำค่อนข้างบริสุทธิ์ เมื่อไหลลงสู่ทะเลแล้วจะทำให้ความเค็มของมหาสมุทรโลกเปลี่ยนแปลงไป อาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศของมหาสมุทรและทะเลลึกได้
"การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลนี้อาจจะเป็นปัญหาสำหรับผู้คนในอนาคตที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ชายฝั่งทั่วโลก"Mernild กล่าว
"เพียงแค่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยก็อาจจะเป็นปัญหาสำหรับชุมชุนเหล่านี้ได้ เราก็ได้แต่หวังว่าการวิจัยครั้งนี้จะสามารถทำให้ผู้คนได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและจำเป็นต่อการวางแผนเพื่อป้องกันชาวเมืองและชุมชนอย่างถูกต้องต่อไป"

น้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ละลายเกือบหมดในเวลา 4 วัน

 


ข่าวการละลายของน้ำ แข็งเกือบทั้งหมดบนเกาะกรีนแลนด์ กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก เพราะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ใช้เวลาเพียงแค่ 4 วันเท่านั้น ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น สร้างความกังวลใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศเป็นอย่างมาก
ปรากฏการณ์ที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายเป็นปรากฏการณ์ที่ถูกพูดถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่ที่หลายฝ่ายเริ่มหันมาให้ความสนใจกับสภาวะโลกร้อนมากยิ่งขึ้น แต่ข่าวที่สร้างความประหลาดใจให้แก่ใครหลายคนเป็นอย่างมากในวันนี้ ก็คือข่าวการละลายของน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ตั้งอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ โดยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้น้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นที่ทั่วทั้งเกาะกรีนแลนด์กว่าร้อยละ 97 ละลายหายไป ในระยะเวลาเพียงแค่ 4 วันเท่านั้น
 
ภาพถ่ายดาวเทียมที่ถูกนำมาเปิดเผยโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งสหรัฐฯ หรือนาซา ภาพนี้ ทำให้เห็นได้ว่า พื้นที่สีขาวที่เคยเป็นน้ำแข็งปกคลุมอยู่ เปลี่ยนเป็นแดง ซึ่งในช่วงแรก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เกิดความผิดพลาดบางประการขึ้นกับระบบดาวเทียมของนาซา เพราะแทบจะไม่มีใครเชื่อในภาพที่ได้เห็น
 
แต่หลังจากการตรวจสอบอย่างละเอียด และมีการประชุมหารือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศแล้ว ทุกฝ่ายต่างก็ยืนยันว่า การละลายของน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์นั้น เกิดขึ้นจริง เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น แต่การละลายดังกล่าว ถือเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมายของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะช่วงเวลาที่น้ำแข็งละลายเร็วที่สุด เกิดขึ้นเพียง 4 วัน คือวันที่ 8 ถึง 12 กรกฎาคม จากเดิมที่มีการละลายเพียงแค่ร้อยละ 40 ก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 97
 
ทางด้านของผู้เชี่ยวชาญที่เดินทางไปเยือนเกาะกรีนแลนด์เพื่อเก็บข้อมูลของการละลายของน้ำแข็งที่เกาะกรีนแลนด์เป็นเวลานานกว่า 30 ปี ก็ให้สัมภาษณ์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เป็นสิ่งที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต ซึ่งถึงแม้ว่า ในช่วงฤดูร้อน น้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์จะละลายเป็นปกติอยู่แล้ว แต่การละลายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องผิดปกติ และน่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง

ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญอีกส่วนหนึ่งกลับมองว่า การที่น้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ละลายในครั้งนี้ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 150 ปี แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ควรติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลกระทบที่ใครหลายคนอาจคาดไม่ถึงก็เป็นได้
 
โดยสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ ก็คือระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากแผ่นน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์บางช่วงนั้น หนาถึง 3,000 เมตร จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า น้ำที่เกิดจากการละลายของน้ำแข็งจะมีปริมาณมหาศาลมากเพียงใด ซึ่งในแต่ละปี ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 3 มิลลิเมตร โดย 1 ใน 5 ของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นมานั้น เกิดจากการละลายของน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์นั่นเอง