วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบ้าน ปฏิบัติการที่ 6 SQL

 h. ตอบ ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา (subject)

โดยมีเงื่อนไขคือเป็นรายวิชา 104111

SELECT subjectid,name,credit
FROM subject
WHERE subjectid = 104111;
i. ตอบ ให้เลือกฟิลด์ทั้งหมดจากตารางรายวิชา (subject)

SELECT subjectid,name,credit,book,teacher
FROM subject;
j. ตอบ ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา (subject)

SELECT subjectid,name,credit
FROM subject;
k. ตอบ ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา (subject) โดยมี
เงื่อนไขคือเป็นรายวิชา 104111

SELECT subjectid,name,credit
FROM subject
WHERE subjectid = 104111;

 
o. ตอบ ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน
(student) การลงทะเบียน ( register ) และรายวิชา (subject) โดยมีเงื่อนไขคือ แสดงรหัสนิสิต และแสดง
เฉพาะรายวิชาที่มีรหัส 104111 เท่านั้น

SELECT Student.Studentid,Student.Name, Register.Score,Register.Grade ,Subject.Name
FROM Register, Student,Subject
WHERE (Register.Studentid = Student.Studentid) And (Register.Subjectid = Subject.Subjectid AND
Register.Subjectid = 104111);

p. ตอบ ให้เลือกแสดงฟิลด์ รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตาราง
นักเรียน(student) การลงทะเบียน(register) และรายวิชา (subject) โดยมีเงื่อนไขคือแสดงเฉพาะรายวิชา
รหัส 104111 เท่านั้น และนิสิตที่อยู่ในชมรมภูมิศาสตร์เท่านั้น

SELECT Student.Studentid,Student.Name,Register.Score,Register.Grade ,Subject.Name,Student.club
FROM Register, Student,Subject
WHERE (Register.Studentid = Student.Studentid) And (Register.Subjectid = Subject.Subjectid AND
Register.Subjectid = 104111) AND Student.club ='ภูมิศาสตร์'




วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โอบามาทวีตยกย่อง อาร์มสตอง ฮีโร่ตลอดกาล


โอบามาทวีตยกย่องอาร์มสตองฮีโร่ตลอดกาล








ภายหลังจากที่ มีรายงานข่าวใหญ่ไปทั่วโลกว่า “นีล อาร์มสตรอง” นักบินอวกาศคนแรกของสหรัฐฯ ซึ่งเดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ กับยาน “อะพอลโล 11” เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2512 เสียชีวิตลงแล้ว รวมอายุได้ 82 ปี ด้วยอาการติดเชื้อขณะเข้ารับการผ่าตัดโรคหลอดเลือดหัวใจล่าสุด มีรายงานข่าวว่า ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ ได้มีการทวีตข้อความ ยกย่องมนุษย์ผู้เหยียบดวงจันทร์ เป็นคนแรกว่า "นีล อาร์มสตรอง ไม่ได้เป็นฮีโร่ เพียงแค่ในช่วงเวลาของเขาเท่านั้น แต่เป็นฮีโร่ตลอดไปของชาวโลก รวมถึง ขอบคุณกับผลงานความทุ่มเทในการสร้างประวัติศาสตร์ของมนุษย์อวกาศผู้ล่วงลับ"ขณะที่ ชาร์ลส์ โบลเดน หัวหน้าขององค์การนาซา กล่าวยกย่องอาร์มสตรองว่า เป็นมนุษย์อวกาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอเมริกัน และชาวโลก และจะมีการรวบรวมประวัติ และผลงานออกมาเผยแพร่ต่อไป

ทั่วโลกอำลา "นีล อาร์มสตรอง"


นีล อาร์มสตรอง เจ้าของฉายา"ก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่แห่งมนุษยชาติ" ในฐานะมนุษนย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ เสียชีวิตแล้ววานนี้ (25 ส.ค.) ขณะมีอายุ 82 ปี



ครอบครัวของ"อาร์มสตรอง"แถลงว่า สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของระบบหลอดเลือดหัวใจ หลังจากผ่านการทำบายพาสหัวใจเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาที่เมืองซินซินเนติ ใกล้กับบ้านพักในปัจจุบัน อาการดีขึ้นตามลำดับ  อย่างไรก็ดี ครอบครัวไม่ได้ระบุว่าอาร์มสตรองเสียชีวิตที่ใด

อาร์มสตรองเป็นคนเงียบๆและรักสันโดษ ในฐานะวิศวกรและนักบิน ได้สร้างประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2512 และในฐานะผู้บังคับการยานอพอลโล 11 นำยานอวกาศลงดวงจันทร์และเป็นมนุษย์คนแรกที่เหยียบบนดวงจันทร์และกลับมายังโลกด้วยความปลอดภัย


 ในวันนั้น อาร์มสตรองและเอ็ดวิน อี อัลดริน จูเนียร์ ผู้ช่วยนักบิน นำยานอีเกิลลงจอดในพื้นที่ราบทางตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ที่เรียกว่า "ทะเลแห่งความเงียบสงบ" (Sea of Tranquility) จากนั้นแจ้งไปยังศูนย์ควบคุมของสหรัฐฯ ท่ามกลางการเฝ้าชมจากผู้ชมหลายล้านคนทั่วโลก

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น อาร์มสตรองสวมชุดอวกาศสีขาวและปีนลงบันใด ก่อนประทับรอยเท้าลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ พร้อมกล่าววลีประวัติศาสตร์ว่า "ย่างก้าวเล็กๆของมนุษย์ ก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่แห่งมนุษยชาติ"

จากนั้น"อัลดริน"ก้าวลงบันไดของยานอพอลโลเป็นคนที่สอง เดินบนผิวดวงจันทร์ด้วยการกระโดดขึ้นลง อันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงที่ต่ำกว่าบนโลกถึงหนึ่งในหก

ส่วนไมเคิล คอลลินส์ นักบินผู้ควบคุมยานอพอลโล 11 ลอยอยู่เหนือดวงจันทร์กว่า 60 ไมล์ เพื่อรอทั้งสองเดินทางกลับยาน 

นับตั้งแต่นั้น มีนักบินอวกาศอเมริกันขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์แล้ว 12 คน จนกระทั่งถึงการปฏิบัติภารกิจของยานอพอลโล 17 ในปี 12515

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ออสซี่จ่อห้ามคน'ยุค2000'พ่นบุหรี่


เทเลกราฟรายงานเมื่อ 23 ส.ค.ว่า รัฐแทสเมเนีย ซึ่งเป็นเกาะทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย กำลังพิจารณาร่างกฎหมาย ซึ่งจะห้ามจำหน่ายบุหรี่ให้แก่บุคคลที่เกิดหลังปี 2000 (พ.ศ.2543) โดยจะใช้มาตรการนี้ตั้งแต่ปี 2018 (พ.ศ.2561) เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนรุ่นปัจจุบันเป็นรุ่นสุดท้ายที่สูบบุหรี่ ขณะที่เด็กรุ่นใหม่ในอนาคตจะเป็นรุ่นแรกที่ไม่สูบบุหรี่เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้เสนอร่างกฎหมายดังกล่าวระบุว่าหากกฎหมายนี้ผ่านสภา จะบังคับใช้ง่าย เพราะร้านค้าขอดูบัตรประชาชนก็รู้แล้วว่าใครเกิดหลังปี 2000

รายงานระบุว่าหากมาตรการนี้บังคับใช้จริง ออสเตรเลียจะมีกฎหมายห้ามจำหน่ายบุหรี่ตามอายุแห่งแรกของโลก ทั้งนี้ ศาลออสเตรเลียเพิ่งตัดสินห้ามบุหรี่ที่จำหน่ายในออสเตรเลียแสดงยี่ห้อ และต้องใช้ผลิตภัณฑ์สีเดียวกันทั้งหมด อีกทั้งต้องแสดงข้อความเตือนอันตรายต่อสุขภาพขนาดใหญ่ด้วย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลออสเตรเลียย้ำว่าไม่มีแผนห้ามจำหน่ายบุหรี่ในระดับชาติ 

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXdNekkwTURnMU5RPT0=&sectionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB5TkE9PQ==


วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐตะลึง! พายุงวงช้าง หรือนาคเล่นน้ำ โผล่ทะเลสาบมิชิแกน


เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกรีซเร่งดับไฟป่าบนเกาะคีออส ล่าสุดเผาพื้นที่ไปกว่า 5 หมื่นไร่ ส่วนที่สหรัฐฯ มีการเผยภาพพายุงวงช้าง 5 ลูก เหนือทะเลสาบมิชิแกน

ช่างภาพคนหนึ่งสามารถจับภาพพายุงวงช้าง 5 ลูกพร้อมกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพายุงวงช้าง 9 ลูกที่เกิดขึ้นเหนือทะเลสาบมิชิแกน เนื่องจากอิทธิพลของพายุ 2 ลูก ที่นำแนวความเย็นและความร้อนมาบรรจบกันพร้อมกับแนวพายุ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างหายาก สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ คาดว่าแนวความเย็นที่พุ่งกระทบทะเลสาบเมื่อวานนี้ อาจจะทำให้เกิดพายุงวงช้างได้อีก พร้อมกับแนะนำให้นักเล่นเรือและผู้ที่ออกไปว่ายน้ำหาที่หลบ ถ้าหากลมมีความเร็วเกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วนที่กรีซ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเร่งดับไฟป่าบนเกาะคีออส ที่เริ่มไหม้ตั้งแต่เช้าตรู่วันเสาร์ โดยมีลมแรงกระพือไฟป่าให้ไหม้ลามไปไกลระยะทาง 25 กิโลเมตร กินพื้นที่กว่า 50,000 ไร่ รถดับเพลิง 21 คัน และอาสาสมัครหลายสิบคนกำลังช่วยกันควบคุมไฟป่าไม่ให้เข้าถึงหมู่บ้าน หลังจากไฟได้เผาทำลายสวนยาง ทำให้เกิดควันโขมงแผ่ปกคลุมไปทั่วเกาะ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเอเธนส์ แต่สามารถมองเห็นควันไฟได้ไกลถึงเกาะครีตทางใต้เลยทีเดียว


http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/60483/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AF-%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87--%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AA.html

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รายงานแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวที่ NORTHERN SUMATRA, INDONESIA
ขนาด: 5.2 ริกเตอร์
จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว: NORTHERN SUMATRA, INDONESIA
วันที่: 19 สิงหาคม 2555 08:57 น.
ละติจูด: 5° 09' 00'' เหนือ
ลองจิจูด: 94° 45' 36'' ตะวันออก
ความลึกจากระดับผิวดิน: 40 กิโลเมตร
เพิ่มเติม:

รายงานแผ่นดินไหวในรอบ 15 วัน
วันที่เวลาจุดศูนย์กลางละติจูดลองจิจูดขนาดลึกจากพื้นดินหมายเหตุ
19 ส.ค. 5508:57NORTHERN SUMATRA, INDONESIA5° 09' 00'' N94° 45' 36'' E5.2 40  
19 ส.ค. 5506:03ประเทศพม่า20° 28' 12'' N97° 45' 36'' E2.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
19 ส.ค. 5500:16SIMEULUE, INDONESIA2° 10' 12'' N96° 18' 36'' E4.4 43  
18 ส.ค. 5522:31HALMAHERA, INDONESIA2° 39' 36'' N128° 44' 24'' E5.6 40  
18 ส.ค. 5516:58SULAWESI, INDONESIA1° 04' 12'' S119° 58' 12'' E4.9  
18 ส.ค. 5516:15ประเทศพม่า20° 34' 12'' N97° 55' 48'' E3.0  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 ส.ค. 5515:58SUMBA REGION, INDONESIA9° 25' 48'' S120° 41' 24'' E4.8 40  
18 ส.ค. 5514:45SULAWESI, INDONESIA1° 18' 36'' S120° 00' 00'' E4.7 10  
18 ส.ค. 5511:02ประเทศพม่า20° 19' 48'' N98° 03' 00'' E4.6  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 ส.ค. 5503:34ประเทศพม่า20° 21' 00'' N98° 01' 48'' E4.0  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 ส.ค. 5503:20TAIWAN23° 22' 48'' N121° 35' 24'' E4.9 20  
17 ส.ค. 5513:19ประเทศพม่า16° 22' 48'' N97° 52' 12'' E4.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
17 ส.ค. 5504:02BANDA SEA6° 11' 24'' S123° 15' 00'' E4.6 15  
17 ส.ค. 5500:41TAIWAN24° 04' 12'' N121° 31' 48'' E4.4 22  
16 ส.ค. 5509:56ประเทศพม่า19° 36' 36'' N97° 36' 00'' E2.6  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
15 ส.ค. 5507:24TAIWAN23° 45' 00'' N121° 28' 48'' E4.1 10  
14 ส.ค. 5518:22ประเทศพม่า20° 32' 24'' N98° 54' 36'' E3.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
14 ส.ค. 5517:55TAIWAN24° 00' 00'' N121° 40' 12'' E5.1 20  
14 ส.ค. 5509:06TAIWAN REGION23° 57' 36'' N122° 33' 36'' E4.8 30  
14 ส.ค. 5508:23ประเทศพม่า19° 05' 24'' N97° 45' 36'' E2.7  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
14 ส.ค. 5504:12OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 49' 48'' N92° 05' 24'' E4.7 20  
13 ส.ค. 5505:55HALMAHERA, INDONESIA1° 26' 24'' N127° 04' 12'' E4.3 60  
13 ส.ค. 5504:46OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 28' 48'' N91° 24' 36'' E4.3 15  
11 ส.ค. 5513:29RYUKYU ISLANDS, JAPAN25° 03' 36'' N126° 44' 24'' E4.8 30  
11 ส.ค. 5504:04MOLUCCA SEA1° 56' 24'' N126° 29' 24'' E4.7 49  
10 ส.ค. 5511:41NIAS REGION, INDONESIA1° 55' 12'' N96° 57' 36'' E5.2 20  
10 ส.ค. 5509:19HALMAHERA, INDONESIA1° 24' 00'' N127° 00' 36'' E5.0 80  
10 ส.ค. 5508:01อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์18° 11' 24'' N101° 00' 00'' E3.1  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
09 ส.ค. 5508:55SOUTHERN SUMATRA, INDONESIA4° 54' 00'' S103° 01' 12'' E4.5 64  
08 ส.ค. 5502:20KEPULAUAN TALAUD, INDONESIA3° 37' 48'' N126° 42' 00'' E4.8 80  
07 ส.ค. 5521:32SOUTH OF JAVA, INDONESIA9° 10' 12'' S112° 19' 12'' E4.7 73  
07 ส.ค. 5512:03MINDORO, PHILIPPINES13° 55' 12'' N120° 07' 48'' E4.9 30  
07 ส.ค. 5508:22ประเทศลาว20° 30' 00'' N100° 15' 00'' E2.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
07 ส.ค. 5506:13HALMAHERA, INDONESIA1° 13' 48'' N128° 51' 00'' E4.7 70  
06 ส.ค. 5516:47NIAS REGION, INDONESIA0° 44' 24'' N97° 04' 12'' E4.6 28  
05 ส.ค. 5522:36พม่า20° 10' 48'' N95° 53' 24'' E3.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
05 ส.ค. 5512:38อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่18° 13' 48'' N98° 42' 36'' E1.5  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
04 ส.ค. 5520:33OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 40' 12'' N92° 36' 00'' E4.9 10  
04 ส.ค. 5518:24NORTHERN SUMATRA, INDONESIA4° 55' 12'' N96° 18' 36'' E5.3 15  
04 ส.ค. 5509:00SOUTHERN SUMATRA, INDONESIA1° 49' 12'' S100° 21' 36'' E5.2 64  
04 ส.ค. 5505:43TAIWAN22° 48' 36'' N120° 47' 24'' E4.1 22  
03 ส.ค. 5507:57JAVA, INDONESIA8° 03' 36'' S107° 42' 36'' E4.5 66  
03 ส.ค. 5502:06MYANMAR26° 17' 24'' N96° 05' 24'' E5.1 33  
03 ส.ค. 5502:06MYANMAR-INDIA BORDER REGION26° 13' 12'' N95° 48' 36'' E5.1 33  
03 ส.ค. 5502:06MYANMAR26° 07' 48'' N96° 18' 36'' E5.1 60  
02 ส.ค. 5523:35ประเทศพม่า19° 24' 00'' N97° 39' 36'' E2.4  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
02 ส.ค. 5521:48NICOBAR ISLANDS, INDIA REGION9° 06' 36'' N93° 29' 24'' E4.8 20  
02 ส.ค. 5509:54พรมแดนประเทศพม่า-จีน21° 12' 36'' N100° 23' 24'' E3.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
02 ส.ค. 5504:58MYANMAR26° 10' 48'' N96° 19' 48'' E4.7 30  
01 ส.ค. 5507:32MINAHASA, SULAWESI, INDONESIA1° 25' 12'' N124° 36' 00'' E4.7 33  
01 ส.ค. 5507:20MINAHASA, SULAWESI, INDONESIA1° 33' 36'' N124° 34' 48'' E5.2 30  
31 ก.ค. 5521:43SOUTH OF JAVA, INDONESIA9° 30' 36'' S113° 15' 00'' E4.4 33  
31 ก.ค. 5521:07ประเทศพม่า18° 32' 24'' N97° 26' 24'' E2.3  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
31 ก.ค. 5513:50SOUTHERN SUMATRA, INDONESIA4° 55' 12'' S102° 53' 24'' E5.3 64  
31 ก.ค. 5509:35ประเทศพม่า20° 51' 36'' N100° 22' 48'' E3.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
30 ก.ค. 5522:43LUZON, PHILIPPINES17° 53' 24'' N120° 48' 00'' E4.6  
30 ก.ค. 5516:11ประเทศพม่า19° 18' 00'' N97° 42' 00'' E2.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
30 ก.ค. 5513:18NORTHERN SUMATRA, INDONESIA3° 15' 00'' N97° 12' 36'' E4.5 10  
29 ก.ค. 5523:05YUNNAN, CHINA23° 03' 36'' N101° 20' 24'' E4.3  
29 ก.ค. 5521:31อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย19° 12' 36'' N99° 29' 24'' E1.7  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
29 ก.ค. 5521:21SOUTHERN SUMATRA, INDONESIA5° 42' 36'' S104° 38' 24'' E5.2 80  
29 ก.ค. 5521:21SUNDA STRAIT, INDONESIA6° 02' 24'' S104° 21' 00'' E5.2 66  
29 ก.ค. 5521:21SUNDA STRAIT, INDONESIA6° 05' 24'' S104° 21' 00'' E5.2 60  
29 ก.ค. 5510:04MINDANAO, PHILIPPINES8° 02' 24'' N126° 41' 24'' E4.9 89  
29 ก.ค. 5510:04PHILIPPINE ISLANDS REGION8° 18' 36'' N127° 00' 00'' E5.0 10  
29 ก.ค. 5509:21MYANMAR22° 57' 00'' N94° 20' 24'' E5.7 80  
28 ก.ค. 5523:47ประเทศพม่า20° 37' 12'' N98° 27' 00'' E2.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
28 ก.ค. 5515:25ประเทศพม่า20° 18' 00'' N97° 15' 00'' E2.7  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
28 ก.ค. 5507:16แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว20° 01' 48'' N100° 48' 36'' E3.1  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
27 ก.ค. 5505:03LUZON, PHILIPPINES18° 34' 12'' N120° 55' 48'' E4.4 44  
27 ก.ค. 5502:45KEPULAUAN BABAR, INDONESIA7° 25' 12'' S129° 22' 12'' E4.5 84  
26 ก.ค. 5502:15MOLUCCA SEA0° 10' 48'' N124° 31' 12'' E4.9 60  
25 ก.ค. 5507:27SIMEULUE, INDONESIA2° 43' 12'' N96° 07' 48'' E6.4  
25 ก.ค. 5504:32ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่18° 53' 24'' N99° 00' 00'' E1.0  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
24 ก.ค. 5521:56MINAHASA, SULAWESI, INDONESIA1° 58' 12'' N122° 48' 36'' E4.4 10  
24 ก.ค. 5510:02MINDANAO, PHILIPPINES7° 43' 12'' N126° 40' 48'' E4.8 60  
23 ก.ค. 5520:21ประเทศพม่า20° 40' 12'' N99° 54' 00'' E3.1  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
22 ก.ค. 5516:39SIMEULUE, INDONESIA2° 38' 24'' N95° 49' 48'' E4.9 20  
22 ก.ค. 5509:11MYANMAR25° 03' 36'' N96° 24' 00'' E5.2 10  
22 ก.ค. 5500:49FLORES REGION, INDONESIA8° 04' 12'' S123° 45' 36'' E4.6 19  
21 ก.ค. 5523:58ต.หนองแหย่ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่18° 55' 48'' N99° 06' 36'' E.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
21 ก.ค. 5523:01FLORES REGION, INDONESIA8° 05' 24'' S123° 42' 36'' E4.6 33  
21 ก.ค. 5503:24KEPULAUAN TALAUD, INDONESIA3° 16' 12'' N126° 02' 24'' E4.9 10  
21 ก.ค. 5501:52OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 03' 00'' N93° 35' 24'' E4.7 30  
21 ก.ค. 5501:52OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 03' 00'' N93° 35' 24'' E4.7 30  
21 ก.ค. 5501:30ต.ท่าผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน19° 34' 12'' N97° 58' 12'' E1.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
21 ก.ค. 5501:14FLORES REGION, INDONESIA8° 06' 00'' S123° 32' 24'' E5.6 46  
 เวลาไทย   ริกเตอร์กิโลเมตร 
http://www.tmd.go.th/earthquake_report.php

Ring of Fire

Map plate tectonics world.gif

วงแหวนแห่งไฟ (อังกฤษPacific Ring of Fire หรือ the Ring of fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75% ของภูเขาไฟคุกกรุ่นทั้งโลก[1] ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt
แผ่นดินไหวประมาณ 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ นอกจากวงแหวนแห่งไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 17% ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 5-6% ของทั้งโลก[2][3]
ภูเขาไฟมายอน ประเทศฟิลิปปินส์
การปะทุของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1980
วงแหวนแห่งไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก[4] แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนาซคาและแผ่นโคคอส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนดีฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนแห่งไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบัวเกนวิลเลประเทศตองกา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็น แนวอัลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนแห่งไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนซานอันเดรียส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์เมื่อ ค.ศ. 1929 แผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ในปี ค.ศ. 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา) และแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ริกเตอร์ในปี 1970[5]
ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ เช่น ภูเขาไฟวิลลาร์ริกา ประเทศชิลี ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ได้พ่นเถ้าถ่านออกมากว่า 1.2 ลูกบาศก์กิโลเมตร ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1707 ภูเขาไฟพินาตูโบ มายอน ทาล และคานลายอน ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งภูเขาไฟพินาตูโบเคยเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1991 ภูเขาไฟแทมโบรา เคลูด และเมราปี ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟลูอาเปทู ประเทศนิวซีแลนด์ และภูเขาไฟเอเรบัส ทวีปแอนตาร์กติกา
ภูเขาฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในแนววงแหวนแห่งไฟนี้ เช่น แผ่นดินไหวคาสคาเดีย มีขนาด 9 ริกเตอร์ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1700แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา ในแคลิฟอร์เนีย แผ่นดินไหวภาคคันโต ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1923 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 คน แผ่นดินไหวเกรตฮันชินในปี 1995 และครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้ คือแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 2004 บริเวณมหาสมุทรอินเดียขนาด 9.3 ริกเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ถูกถล่มด้วยคลื่นขนาด 10 เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 230,000 คน
ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟ ได้แก่ ประเทศเบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลีคอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาตี เม็กซิโกนิวซีแลนด์ นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองกา ตูวาลู และสหรัฐอเมริกา



วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไฟที่ไหม้ป่าพรุควนเคร็ง

 
 ไฟที่ไหม้ป่าพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช กินเนื้อที่กว่า 20,000 ไร่ ทำให้กำลังเจ้าหน้าที่กว่า 5,000 นาย ต้องระดมกำลังเข้าจำกัดวงล้อมของไฟอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าสมบูรณ์ใน 4 อำเภอ คือ อ.เชียรใหญ่ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ชะอวด และ อ.ร่อนพิบูลย์ ที่อยู่ในภาวะวิกฤต รวมถึงจุดที่น่าเป็นห่วงในพื้นที่ป่าในโครงการศึกษาพันธุ์ไม้เสม็ดขาวครบวงจร มูลนิธิชัยพัฒนา ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ ที่ถูกไฟไหม้ไปแล้วกว่า 600 ไร่ และยังคงลุกลามต่อเนื่อง จนเกรงว่าพื้นที่ทั้งหมด 1,900 ไร่ อาจจะได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ป่าพรุ
        ความเสียหายที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการนำข้อมูลไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรายงานแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยในสถานการณ์ไฟไหม้อย่างมาก
        จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่ ยังพบด้วยว่ามีพื้นที่ที่มีไฟไหม้ป่าพรุรุนแรงประมาณ 33 จุด
        สถานการณ์ไฟไหม้ป่าพรุ มีข้อมูลระบุว่าน่าจะเกิดจากฝีมือของผู้ที่ลักลอบเข้าไปเผาพื้นที่ป่า โดยนายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประกาศตั้งรางวัลนำจับ 50,000 บาท สำหรับผู้ที่แจ้งเบาะแสคนเผาป่าพรุ
        ด้านนายธนากร รักธรรม หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าพื้นที่ลุ่มน้ำปากพะนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รายงานถึงสถานการณ์ระดับน้ำในพื้นที่ป่าพรุ พบว่าลดลงผิดปกติ จากเดิมที่มีระดับน้ำเหนือผิวดินไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ส่งผลให้พื้นที่ป่าได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้นด้วย

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000101216

รู้จักกับ ลมมรสุม พายุหมุน และร่องความกดอากาศต่ำ



กีฬาดำน้ำ นับเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว ที่เกี่ยวโยงกับธรรมชาติอย่างมาก คลื่นลมในทะเล อาจส่งผลกระทบต่อนักดำน้ำได้ หลายประการ ตั้งแต่ ฝนตกหนัก น่าเบื่อหน่าย คลื่นสูงจนดำน้ำไม่สนุก เมาเรือ ไปจนถึง ลมหรือพายุรุนแรง ที่ทำให้ต้องงดดำน้ำได้ ดังนั้น ความเข้าใจ ในสภาพภูมิอากาศ ตามธรรมชาติ น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับนักดำน้ำทุกคน โดยเฉพาะ เมื่อเป็นที่รู้กันว่า ทุกวัน ตลอดทั้งปี จะต้องมีสักแห่งหนึ่งในเมืองไทย ที่คุณสามารถลงไปดำน้ำได้อย่างแน่นอน การวางแผนทริปท่องเที่ยว ในแต่ละช่วงของปี จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้แผนการท่องเที่ยวของคุณ ราบรื่น สวยงาม
เอาเป็นว่า รอบนี้ เรามาทำความรู้จักกับ สภาพภูมิอากาศ ของประเทศไทยกันก่อนดีกว่า ภูมิอากาศของประเทศไทย ได้รับอิทธิพล จากปรากฏการณ์ธรรมชาติ 3 อย่างด้วยกัน นั่นคือ ลมมรสุม (Monsoon), พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone) และ ร่องความกดอากาศต่ำ ทั้ง 3 สิ่งนี้เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ ระหว่างดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า "โลก" และดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า "ดวงอาทิตย์" เช่น มุมแกนหมุนของโลกกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์, อุณหภูมิพื้นผิวโลก และมหาสมุทร, ความหนาแน่นของมวลอากาศ ในแต่ละพื้นที่, อุณหภูมิของมวลอากาศนั้น ฯลฯ อีกมากมาย แต่ถ้าจะเล่าถึงต้นตอขนาดนั้น คงจะยืดยาวเกินไป เอาเฉพาะ 3 สิ่งนี้ก่อนดีกว่าครับ

ลมมรสุม (Monsoon)
ทุกคนคงจะเคยได้ยินติดหูกันมาบ้าง ในสมัยวัยเยาว์ (แต่ตอนนี้ก็ยังเยาว์อยู่เหมือนกันนะครับ) ว่าลมมรสุม คือลมประจำฤดู ของไทย เกิดขึ้นเพราะอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ระหว่างมวลอากาศในเขตพื้นดินกับพื้นน้ำ ในแต่ละฤดูกาล จึงเกิดการไหลเวียนของอากาศ ระหว่างพื้นน้ำกับพื้นดิน ลมมรสุมนี้ มีกำลังอ่อนบ้างแรงบ้าง ขึ้นอยู่กับแนวร่องความกดอากาศต่ำ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนตุลาคม หอบเอาความชื้นจากทะเล มาปะทะแนวเขา เกิดเป็นฝนตกชุกในแถบภาคใต้ฝั่งอันดามัน พัดผ่านไทยขึ้นเหนือสู่ประเทศจีนต่อไป
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากแถบไซบีเรียและจีน ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พาอากาศแห้งและเย็น ลงมาปกคลุมตอนเหนือถึงตอนกลาง ของประเทศไทย แล้วหอบเอาความชื้นในอ่าวไทย ไปตกเป็นฝนในแถบภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย แต่ฝนจะน้อยลงมาก ในระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone)
พายุหมุนเขตร้อน หมายถึง พายุที่เกิดขึ้น เหนือมหาสมุทร ในเขตร้อน (ละติจูดต่ำ หรือ ใกล้เส้นศูนย์สูตร) เนื่องจากกระบวนการ ถ่ายเทพลังงาน ของอากาศชื้น เหนือมหาสมุทร เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักจะเคลื่อนตัวไปตามกระแสลมรอบข้าง อาจมีกำลังแรงขึ้นหรืออ่อนลง ตามแต่ลักษณะอากาศที่เคลื่อนผ่านไป แต่เมื่อเคลื่อนเข้าสู่แผ่นดิน จะอ่อนกำลังลง เพราะไม่มีพลังงานจากไอน้ำ มาเสริมกำลังต่อ
ปัจจุบัน เราแบ่งพายุหมุนเขตร้อน ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับความรุนแรง โดยวัดจากความเร็วลม ณ ศูนย์กลางพายุเป็นหลัก ดังนี้
พายุดีเปรสชั่น (Tropical Depression)มีความเร็วลมไม่เกิน 63 km/h (ประมาณ 17 m/s) มองจากดาวเทียม จะเห็นเป็นกลุ่มเมฆ หนาทึบ เป็นวงกลม ยังไม่มีแนวขดเป็นเกลียว หรือ ตาพายุ ชัดเจน
พายุโซนร้อน (Tropical Storm)มีความเร็วลมสูงกว่า ดีเปรสชั่น แต่ไม่เกิน 118 km/h (ประมาณ 32 m/s) จากภาพถ่ายดาวเทียม อาจเริ่มเห็นเกลียวแขนของกลุ่มเมฆบ้าง พายุระดับนี้ จะได้รับการกำหนดชื่อให้ โดยหน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยานานาชาติ (ยกเว้นประเทศฟิลิปปินส์ จะเริ่มตั้งชื่อพายุที่เข้ามาในเขตประเทศ ตั้งแต่ยังเป็น ดีเปรสชั่น)
พายุระดับรุนแรงที่สุดเรียกกันง่ายๆ ว่า Tropical Cyclone (เพียงเพื่อให้แตกต่างจากพายุ 2 กลุ่มแรก เท่านั้น) แต่จะมีชื่อเรียกหลากหลายชื่อ ตามแต่พื้นที่ที่เกิดพายุ เช่น ในแถบแปซิฟิค เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon) แถบอเมริกากลาง เรียกว่า เฮอร์ริเคน (Hurricane) แถบมหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า ไซโคลน (Cyclone) ส่วนในแถบมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี่ วิลลี่ (Willi Willi) พายุระดับนี้มักจะเกิด "ตาพายุ" ขึ้นตรงใจกลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่อากาศมีความกดน้อยที่สุด และลมในบริเวณนั้นค่อนข้างสงบนิ่ง อาจมีขนาดตาพายุตั้งแต่ 16 - 80 km เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ในแถบอื่นของโลก ซึ่งโดนพายุหมุนระดับที่รุนแรงมากกว่านี้ ยังมีการจัดระดับเพิ่มเติมอีกจนถึงระดับ Super Typhoon ซึ่งมีความเร็วลมสูงกว่า 239 km/h เลยทีเดียว นับว่าเป็นโชคดีของเรา ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตที่โดนพายุหมุน น้อยที่สุด ในบรรดา ประเทศเขตร้อน ที่มีพายุหมุนทั้งหมดครับ
(ถ้าอ่านจากชื่อไทย และชื่ออังกฤษ อาจจะดูสับสนเล็กน้อย เพราะ Tropical ก็แปลว่า เขตร้อน แต่เราเรียกเฉพาะ Tropical Storm ว่าพายุโซนร้อน ในขณะที่ Storm แปลว่า พายุ ส่วน Depression แปลว่า ความกดอากาศต่ำ แต่เราเรียกว่า "พายุ" ทั้งคู่)
พายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย มาได้จาก 2 ทาง คือ จากอ่าวเบงกอลเข้าสู่ภาคตะวันตกของประเทศ ในช่วงเดือนพฤษภาคม แต่มีจำนวนน้อยกว่าอีกทางหนึ่ง คือพายุที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิค แล้วเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางตะวันออก ซึ่งเกิดได้ตั้งแต่ ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงธันวาคม และแนวที่พายุเคลื่อนเข้า ก็จะสอดคล้องกับ แนวร่องความกดอากาศต่ำ ที่พาดผ่านในแต่ละช่วงเดือนนั่นเอง
ตามสถิติโดยกรมอุตุฯ เดือนที่มีพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยมากที่สุด (ดูที่ศูนย์กลางพายุเป็นหลัก) คือ เดือนตุลาคม รองลงมาคือ กันยายน
ร่องความกดอากาศต่ำ
เป็นคำที่ได้ยินผู้ประกาศข่าวพูดถึงอยู่เสมอ แต่หลายคนก็ยังไม่ค่อยรู้จักกับมันเท่าไหร่นัก แต่เจ้าสิ่งนี้กลับทำให้เกิดอะไรๆ กับภูมิอากาศบ้านเราได้มากมาย ขออธิบายลักษณะของมันสั้นๆ ว่า ร่องความกดอากาศต่ำ ก็คือ แนวของมวลอากาศที่มีความหนาแน่นต่ำ (มีอุณหภูมิสูง) เกิดขึ้นตามธรรมชาติของอากาศ ที่ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และมีมวลอากาศที่มีความกดสูงกว่า (ความหนาแน่นมากกว่า) กระจายอยู่รอบแนว 2 ด้าน ร่องความกดอากาศต่ำ มักจะพาดในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นหลัก (เพราะเป็นแนวที่โลกหมุนรอบตัวเอง และหมุนรอบดวงอาทิตย์) อาจจะมีเฉียงเหนือหรือใต้เล็กน้อย ตามฤดูกาล และกำลังของลมอื่นๆ ที่มากระทบ เช่น ลมมรสุม เป็นต้น

เมื่อมี ร่องความกดอากาศต่ำ พาดผ่าน มวลอากาศความกดสูงกว่าที่อยู่รอบๆ ก็จะเคลื่อนเข้ามา พบกันในแนวนี้ เมื่อไม่มีที่ ให้พาอากาศไปไหนต่อ แต่มีปริมาณมากพอ ก็รวมตัวตกลงมาเป็นฝน นั่นเอง
นอกจากนี้ ร่องความกดอากาศต่ำ ก็จะทำหน้าที่ เป็นทางเดิน ให้กับพายุหมุนเขตร้อน ที่เกิดขึ้นทางทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย จึงพบว่าพายุหมุนส่วนใหญ่ จะเคลื่อนที่ เข้าสู่ประเทศไทย ตามแนว ร่องความกดอากาศต่ำนี้

 
ดังนั้น การเคลื่อนตัวของ ร่องความกดอากาศต่ำ ในแต่ละช่วงของปี จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยให้เรา คาดคะเนสภาพอากาศดีร้าย ได้ล่วงหน้าระดับหนึ่ง และสามารถวางแผน เลือกสถานที่ท่องเที่ยว ได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ปกติ ร่องความกดอากาศต่ำ จะพาดผ่านประเทศไทย ตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึง เดือนธันวาคม แต่จะส่งผล ให้เกิดฝนตกชุกจริง ก็ตั้งแต่ช่วงพฤษภาคม เป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ เคลื่อนมาถึงตอนกลาง ของประเทศ และเมื่อถึงเดือนมิถุนายน ก็ไปพาดเอา แถวตอนเหนือ ของประเทศไทย แล้วหายไปอยู่ ทางตอนเหนือสุด ของเวียดนาม และทางใต้ของจีนพักหนึ่ง ราวเดือนกรกฎาคม ก่อนจะเริ่มเคลื่อน กลับเข้าสู่ ประเทศไทยอีกครั้ง ในระหว่างเดือน สิงหาคม ถึง ธันวาคม ไล่ลงจากเหนือมาใต้ ตามลำดับ

 
พฤติกรรมเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทย มีฝนตกชุก ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง ตุลาคม โดยทิ้งช่วงไปพักหนึ่ง ราวเดือนกรกฎาคม และกลับมาตกชุก จนถึงตกหนัก อีกครั้ง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม เป็นต้นไป แต่คราวนี้ หากมีพายุหมุนเขตร้อน เฉียดเข้ามาใกล้ หรือเคลื่อนเข้ามาด้วย ก็จะทำให้มีฝนตกหนัก ถึงหนักมาก หรือเกิดความเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

 
นอกจาก 3 สิ่งนี้แล้ว ก็ยังมีช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายน ที่ลมตะเภา หรือลมว่าว ซึ่งพัดมาจากทิศใต้ หรือตะวันออกเฉียงใต้ อาจปะทะเข้ากับ มวลอากาศเย็น จากประเทศจีน ที่บังเอิญหลงทางมา ในบางโอกาส ทำให้เกิดเป็น "พายุฤดูร้อน" มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง หรือมีลูกเห็บตกลงมาด้วย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น ทางตอนเหนือของประเทศ

สรุปย่อช่วยจำ
ร่องความกดอากาศต่ำ เป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยคาดคะเนพื้นที่ ที่จะเกิดฝนตกชุก ในแต่ละเดือน จำง่ายๆ โดยเริ่มไล่จาก เดือนเมษายน ถึงมิถุนายน จากใต้สุดไปเหนือสุด แล้วไล่กลับลงมาอีกครั้ง จากเดือนสิงหาคม ถึงธันวาคม จากเหนือสุดมาใต้สุด ส่วนว่า จะไปเที่ยวที่ไหน ได้บ้างนั้น ต้องลองเปิด แผนที่ประเทศไทย ประกอบด้วยแล้วล่ะ
สำหรับ ลมมรสุม คงจะจำกันได้ไม่ยากเพราะ เรียนกันมาแต่เด็กแล้ว หรือไม่ ก็ลองย้อนกลับไปอ่าน ด้านบนอีกรอบนะครับ

จากข้อมูลเหล่านี้ น่าจะช่วยให้ทุกท่าน สามารถวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวล่วงหน้า ในแต่ละเดือนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายความถึง ทริปดำน้ำ เท่านั้นนะครับ แต่หมายรวมถึง ทุกการเดินทาง ในทุกสถานที่ท่องเที่ยว ที่คุณเลือกเป็นจุดหมายปลายทาง สำหรับวันหยุดพักผ่อน เพื่อความสุขสนุกสนานของผู้ร่วมทริปทุกคน

ภาพและข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สาระวิทยาศาสตร์ทางทะเล, พ.ศ. 2546
Wikipedia: Tropical cyclone
เขียนโดยศุภพงษ์ อารีประเสริฐกุล
http://www.easydivers.info/index.php?lay=show&ac=article&Id=5350930&Ntype=54