วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

10 อันดับ เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012


เว็บไซต์ดิอีโคโนมิสต์ เผย 10 อันดับ เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 จากการจัดอันดับของ Economist Intelligence Unit หน่วยงานชื่อดังด้านการศึกษา และวิจัยข้อมูลด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เกณฑ์การให้คะแนนวัดจาก โครงสร้างผังเมือง จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การศึกษา สุขภาพ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยตัดสินคัดเลือกจาก 70 เมืองทั่วโลก ผลปรากฏว่า ฮ่องกง คว้าแชมป์ที่ 1 ไปครองตำแหน่ง เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 ส่วนอันดับต่อๆ มานั้น ก็ล้วนเป็นเมืองสวยงามน่าไปเยือนทั้งสิ้น

เมืองที่ดีที่สุดในโลก อันดับ 1 ฮ่องกง ประเทศจีน

เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 อันดับ 2 อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
 เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 อันดับ 3 โอซากา ประเทศญี่ปุ่น

เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 อันดับ 4 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 อันดับ 5 ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 อันดับ 6 สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน

เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 อันดับ 7 เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 อันดับ 8 โตรอนโต ประเทศแคนาดา

เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 อันดับ 9 มิวนิก ประเทศเยอรมนี

เมืองที่ดีที่สุดในโลก 2012 อันดับ 10 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
 10 อันดับ เมืองที่ดีที่สุดในโลก ปี 2012


ที่มา : www.ที่สุดในโลก.com

5 สุดยอดเมืองหลอน "ห้ามเข้า" ที่น่ากลัวที่สุดในโลก


หลายครั้งที่เรามักจะต้องสงสัยว่าทำไมเมืองบางเมือง หรือเขตบางเขตในประเทศต่าง ๆ มักมาพร้อมคำเตือนว่าเป็นสถานที่“ต้องห้าม” หรือ “ห้ามเข้า” ซึ่งเชอร์โนบิล ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในห้าพื้นที่ห้ามเข้าที่น่ากลัวที่สุดในโลกด้วย
มาทำความรู้จักกับทั้ง “สถานที่ร้างห้ามเข้า” ทั้ง 5 ที่ติดอันดับเสียงร่ำลือว่าน่ากลัวที่สุดในโลกจนไม่มีใครคิดไปเหยียบ!

อันดับ 5 เมือง ออราดูร์ -ซู-แกลน ประเทศฝรั่งเศส

เมืองร้างที่โดนทำลายย่อยยับโดยกองทัพของเยอรมนีในปี ค.ศ.1944 มีชาวบ้านถูกฆ่าตายที่นี่อย่าง โหดเหี้ยมไปถึง 642 ศพ แม้ปัจจุบันจะมีการสร้างเมืองนี้ขึ้นมาใหม่ แต่ที่นี่ก็ยังคงขึ้นชื่อเรื่องของอาถรรพ์ความเฮี้ยนจนไม่มีใครกล้าย่างกรายเข้าไป

อันดับ 4 เมืองเซ็นทราเลีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา

เมืองที่เคยได้ชื่อว่าอุดมไปด้วยเหมืองแร่ถ่านหิน แต่หลังจากที่ในปี 1962 ได้เกิดเหตุการณ์ประหลาดเมื่อจู่ๆ เปลวไฟเกิดประทุขึ้นมาจากเหมืองที่อยู่ใต้ดินอย่างรุนแรง จนทำให้สภาพอากาศของเมืองนี้ร้อนระอุ และถูกปกคลุมด้วยหมอกควันอยู่ตลอดเวลา และจนถึงปัจจุบันเปลวไฟจากใต้ดินก็ยังคงปะทุอยู่อย่างต่อเนื่อง

อันดับ 3 เมืองคราโค่ ประเทศ อิตาลี

เมืองในยุคกลางของอิตาลีที่สร้างขึ้นบนเนินเขา ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญ แต่เมื่อต้องเจอกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่หลายครั้งติดกัน ทำให้ผู้คนเสียชีวิตไปมากมาย และเสียหายเกินกว่าที่จะได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่

อันดับ 2 เมือง ซางจี ประเทศ ไต้หวัน

ดีไซน์การออกแบบอันสุดพิลึกพิลั่นซึ่งเกิดอุบัติเหตุระหว่างก่อสร้างที่คร่าชีวิตคนงานไปหลายคนจนถึงกับต้องหยุดการก่อสร้างไปหลายครั้ง หรือกระทั่ง เหตุการณ์สุดประหลาดที่มีคนอ้างว่าเห็นส่วนต่างๆ ของบ้านเคลื่อนไหวไปมาได้เองชวนขนลุก

อันดับ 1 เมืองพริเพียต ประเทศ ยูเครน (รัสเซีย ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์)

นี่คือเมืองที่เกิดเหตุโศกนาฏกรรมช็อคโลกที่เรียกได้ว่า รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งใน ประวัติศาสตร์โลก นั่นคือการระเบิดของ“เชอร์โนบิล” โรงงานนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ ที่นำหายนะครั้งใหญ่มาสู่สิ่งมีชีวิตที่ตกป็นเหยื่อทั้งสังเวยชีวิต ป่วยเป็นโรคมะเร็ง กลายพันธุ์ผ่าเหล่า หรือพิการเพราะอวัยวะที่ใหญ่ผิดขนาด และไม่ใช่เพียงแค่ผลกระทบทางชีวภาพ แต่ยังมีปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่เล่าต่อกันมา ทั้งความรู้สึกที่เหมือนถูกจ้องมองตลอดเวลา เสียงกรีดร้องขอความช่วยเหลืออย่างไร้ที่มาที่ไป เงาของชายลึกลับที่หลายคนพบเห็น


Super Wi-Fi


[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] รายงาานข่าวล่าสุด FCC เพิ่งจะประกาศความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางเทคโนโลยีใหม่ทีมีชื่อว่า "Super Wi-Fi" ซึ่งเชื่อว่า น่าจะอยู่ในความสนใจของผู้ใช้หลายๆ ท่าน ว่าแล้วทางเว็บไซต์ arip จึงไม่พลาดที่จะรีบนำเรื่องราวนี้ที่ได้มีการสรุปโดยเว็บไซต์ Gizmodo มาขยายความให้ทราบโดยทั่วกัน ไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพเหนือชั้นกันดีกว่าครับ
กล่าวโดยสรุป Super-Wi-Fi ก็ยังคงเป็นเทคโนโลยี Wi-Fi อยู่วันยังค่ำ โดยมันยังมีลักษณะของการส่งข้อมูลไร้สายที่ใช้กันตามบ้านเรือน ที่พักอาศัย ตลอดจนสำนักงาน หรือแม้แต่ในสตาร์บัค เพียงแต่มันจะเก่งกว่ามาก ไม่งั้นไม่มีคำว่า "Super" นำหน้าอย่างแน่นอน...แต่ประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงก็คือ ช่วงความถี่ (หรือ Spectrum) ที่ใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า ปกติ Wi-Fi จะมีช่วงการรับส่งข้อมูลไร้สายอยุ่ที่ 2.4GHz หรือ 5GHz ซึ่งเมื่อ 25 ปีก่อนทาง FCC ได้เปิดช่วงความถี่ที่ไม่ได้มีการใช้นั่นคือ 50MHz และ 700MHz โดยช่วงความถี่นี้เองที่จะถูกนำมาใช้กับเทคโนโลยี Super Wi-Fi
ประเด็นก็คือ ช่วงความถี่ดังกล่าวจะอยู่ในช่วงของช่องสัญญาณ TV (White Noise) แต่เมื่อทีวีเป็นดิจิตอลโดยสมบูรณ์ ช่วงความถี่เหล่านี้จะไม่ได้ถูกใช้แต่อย่างใด ซึ่งหากสามารถนำมาใช้กับ Super Wi-Fi คุณประโยชน์ที่โดดเด่นมากๆ ก็คือ ระยะทางของการส่งคลื่น หรือพูดง่ายๆ ก็คือ รัศมีการครอบคลุมของสัญญาณที่กว้างกว่า Wi-Fi เป็นหลายกิโลเมตร!!! เนื่องจากความถี่ที่ต่ำกว่าทำให้มันเดินทางไปได้ไกลกว่านั่นเอง อีกทั้งยังมีอำนาจทะลุทะลุวงกำแพงได้อีกด้วย ซึ่งเราท์เตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะยังมีปัญหาเรื่องนี้ นอกจากรัศมีทีกว้างไกลแล้ว Super Wi-Fi ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้ด้วยความเร็ว 15Mbps - 20Mbps หรือเท่าๆ กับเคเบิ้ลโมเด็ม
ปัจจุบัน Google ได้ทดลองใช้ Super Wi-Fi ในโรงพยาบาลที่ Ohio เป็นที่แรก ปรากฎว่า ความเร็วที่ใช้งานได้ตลอดทั่วทั้งโรงพยาบาลอยู่ในระดับ Super Broadband เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวในการฟีดข้อมูลจราจร และจากกล้องรักษาความปลอดภัย หรือแม้แต่การเข้าถึง Wi-Fi ที่บ้านที่อยู่ห่างไปหลายช่วงตืกได้อีกด้วย เทคโนโลยี Super Wi-Fi ยังคงต้องได้รับการแก้ไขปัญหา หรือผลกระทบต่างๆ ตลอดจนพิสูจน์ทราบการใช้งานจริงอีกพอสมควร โดยจะมีการทดลองให้เห็นการใช้งานใน CES 2011 และเราคงจะได้เห็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี Super Wi-Fi ในท้องตลาดอีกประมาณ 1 - 2 ปีข้างหน้า Google เปรียบเทียบเทคโนโลยี Super Wi-Fi ว่า มันเป็นการฉีดสเตียรอยด์ให้กับ Wi-Fi โอ้ว...ชัดเจนจริงๆ

ข้อมูลจาก: GeekWhiteLaptop

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบ้าน ปฏิบัติการที่ 6 SQL

 h. ตอบ ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา (subject)

โดยมีเงื่อนไขคือเป็นรายวิชา 104111

SELECT subjectid,name,credit
FROM subject
WHERE subjectid = 104111;
i. ตอบ ให้เลือกฟิลด์ทั้งหมดจากตารางรายวิชา (subject)

SELECT subjectid,name,credit,book,teacher
FROM subject;
j. ตอบ ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา (subject)

SELECT subjectid,name,credit
FROM subject;
k. ตอบ ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา (subject) โดยมี
เงื่อนไขคือเป็นรายวิชา 104111

SELECT subjectid,name,credit
FROM subject
WHERE subjectid = 104111;

 
o. ตอบ ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน
(student) การลงทะเบียน ( register ) และรายวิชา (subject) โดยมีเงื่อนไขคือ แสดงรหัสนิสิต และแสดง
เฉพาะรายวิชาที่มีรหัส 104111 เท่านั้น

SELECT Student.Studentid,Student.Name, Register.Score,Register.Grade ,Subject.Name
FROM Register, Student,Subject
WHERE (Register.Studentid = Student.Studentid) And (Register.Subjectid = Subject.Subjectid AND
Register.Subjectid = 104111);

p. ตอบ ให้เลือกแสดงฟิลด์ รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตาราง
นักเรียน(student) การลงทะเบียน(register) และรายวิชา (subject) โดยมีเงื่อนไขคือแสดงเฉพาะรายวิชา
รหัส 104111 เท่านั้น และนิสิตที่อยู่ในชมรมภูมิศาสตร์เท่านั้น

SELECT Student.Studentid,Student.Name,Register.Score,Register.Grade ,Subject.Name,Student.club
FROM Register, Student,Subject
WHERE (Register.Studentid = Student.Studentid) And (Register.Subjectid = Subject.Subjectid AND
Register.Subjectid = 104111) AND Student.club ='ภูมิศาสตร์'




วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โอบามาทวีตยกย่อง อาร์มสตอง ฮีโร่ตลอดกาล


โอบามาทวีตยกย่องอาร์มสตองฮีโร่ตลอดกาล








ภายหลังจากที่ มีรายงานข่าวใหญ่ไปทั่วโลกว่า “นีล อาร์มสตรอง” นักบินอวกาศคนแรกของสหรัฐฯ ซึ่งเดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ กับยาน “อะพอลโล 11” เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2512 เสียชีวิตลงแล้ว รวมอายุได้ 82 ปี ด้วยอาการติดเชื้อขณะเข้ารับการผ่าตัดโรคหลอดเลือดหัวใจล่าสุด มีรายงานข่าวว่า ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ ได้มีการทวีตข้อความ ยกย่องมนุษย์ผู้เหยียบดวงจันทร์ เป็นคนแรกว่า "นีล อาร์มสตรอง ไม่ได้เป็นฮีโร่ เพียงแค่ในช่วงเวลาของเขาเท่านั้น แต่เป็นฮีโร่ตลอดไปของชาวโลก รวมถึง ขอบคุณกับผลงานความทุ่มเทในการสร้างประวัติศาสตร์ของมนุษย์อวกาศผู้ล่วงลับ"ขณะที่ ชาร์ลส์ โบลเดน หัวหน้าขององค์การนาซา กล่าวยกย่องอาร์มสตรองว่า เป็นมนุษย์อวกาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอเมริกัน และชาวโลก และจะมีการรวบรวมประวัติ และผลงานออกมาเผยแพร่ต่อไป

ทั่วโลกอำลา "นีล อาร์มสตรอง"


นีล อาร์มสตรอง เจ้าของฉายา"ก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่แห่งมนุษยชาติ" ในฐานะมนุษนย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ เสียชีวิตแล้ววานนี้ (25 ส.ค.) ขณะมีอายุ 82 ปี



ครอบครัวของ"อาร์มสตรอง"แถลงว่า สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของระบบหลอดเลือดหัวใจ หลังจากผ่านการทำบายพาสหัวใจเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาที่เมืองซินซินเนติ ใกล้กับบ้านพักในปัจจุบัน อาการดีขึ้นตามลำดับ  อย่างไรก็ดี ครอบครัวไม่ได้ระบุว่าอาร์มสตรองเสียชีวิตที่ใด

อาร์มสตรองเป็นคนเงียบๆและรักสันโดษ ในฐานะวิศวกรและนักบิน ได้สร้างประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2512 และในฐานะผู้บังคับการยานอพอลโล 11 นำยานอวกาศลงดวงจันทร์และเป็นมนุษย์คนแรกที่เหยียบบนดวงจันทร์และกลับมายังโลกด้วยความปลอดภัย


 ในวันนั้น อาร์มสตรองและเอ็ดวิน อี อัลดริน จูเนียร์ ผู้ช่วยนักบิน นำยานอีเกิลลงจอดในพื้นที่ราบทางตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ที่เรียกว่า "ทะเลแห่งความเงียบสงบ" (Sea of Tranquility) จากนั้นแจ้งไปยังศูนย์ควบคุมของสหรัฐฯ ท่ามกลางการเฝ้าชมจากผู้ชมหลายล้านคนทั่วโลก

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น อาร์มสตรองสวมชุดอวกาศสีขาวและปีนลงบันใด ก่อนประทับรอยเท้าลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ พร้อมกล่าววลีประวัติศาสตร์ว่า "ย่างก้าวเล็กๆของมนุษย์ ก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่แห่งมนุษยชาติ"

จากนั้น"อัลดริน"ก้าวลงบันไดของยานอพอลโลเป็นคนที่สอง เดินบนผิวดวงจันทร์ด้วยการกระโดดขึ้นลง อันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงที่ต่ำกว่าบนโลกถึงหนึ่งในหก

ส่วนไมเคิล คอลลินส์ นักบินผู้ควบคุมยานอพอลโล 11 ลอยอยู่เหนือดวงจันทร์กว่า 60 ไมล์ เพื่อรอทั้งสองเดินทางกลับยาน 

นับตั้งแต่นั้น มีนักบินอวกาศอเมริกันขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์แล้ว 12 คน จนกระทั่งถึงการปฏิบัติภารกิจของยานอพอลโล 17 ในปี 12515

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ออสซี่จ่อห้ามคน'ยุค2000'พ่นบุหรี่


เทเลกราฟรายงานเมื่อ 23 ส.ค.ว่า รัฐแทสเมเนีย ซึ่งเป็นเกาะทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย กำลังพิจารณาร่างกฎหมาย ซึ่งจะห้ามจำหน่ายบุหรี่ให้แก่บุคคลที่เกิดหลังปี 2000 (พ.ศ.2543) โดยจะใช้มาตรการนี้ตั้งแต่ปี 2018 (พ.ศ.2561) เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนรุ่นปัจจุบันเป็นรุ่นสุดท้ายที่สูบบุหรี่ ขณะที่เด็กรุ่นใหม่ในอนาคตจะเป็นรุ่นแรกที่ไม่สูบบุหรี่เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้เสนอร่างกฎหมายดังกล่าวระบุว่าหากกฎหมายนี้ผ่านสภา จะบังคับใช้ง่าย เพราะร้านค้าขอดูบัตรประชาชนก็รู้แล้วว่าใครเกิดหลังปี 2000

รายงานระบุว่าหากมาตรการนี้บังคับใช้จริง ออสเตรเลียจะมีกฎหมายห้ามจำหน่ายบุหรี่ตามอายุแห่งแรกของโลก ทั้งนี้ ศาลออสเตรเลียเพิ่งตัดสินห้ามบุหรี่ที่จำหน่ายในออสเตรเลียแสดงยี่ห้อ และต้องใช้ผลิตภัณฑ์สีเดียวกันทั้งหมด อีกทั้งต้องแสดงข้อความเตือนอันตรายต่อสุขภาพขนาดใหญ่ด้วย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลออสเตรเลียย้ำว่าไม่มีแผนห้ามจำหน่ายบุหรี่ในระดับชาติ 

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXdNekkwTURnMU5RPT0=&sectionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB5TkE9PQ==


วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐตะลึง! พายุงวงช้าง หรือนาคเล่นน้ำ โผล่ทะเลสาบมิชิแกน


เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกรีซเร่งดับไฟป่าบนเกาะคีออส ล่าสุดเผาพื้นที่ไปกว่า 5 หมื่นไร่ ส่วนที่สหรัฐฯ มีการเผยภาพพายุงวงช้าง 5 ลูก เหนือทะเลสาบมิชิแกน

ช่างภาพคนหนึ่งสามารถจับภาพพายุงวงช้าง 5 ลูกพร้อมกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพายุงวงช้าง 9 ลูกที่เกิดขึ้นเหนือทะเลสาบมิชิแกน เนื่องจากอิทธิพลของพายุ 2 ลูก ที่นำแนวความเย็นและความร้อนมาบรรจบกันพร้อมกับแนวพายุ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างหายาก สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ คาดว่าแนวความเย็นที่พุ่งกระทบทะเลสาบเมื่อวานนี้ อาจจะทำให้เกิดพายุงวงช้างได้อีก พร้อมกับแนะนำให้นักเล่นเรือและผู้ที่ออกไปว่ายน้ำหาที่หลบ ถ้าหากลมมีความเร็วเกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วนที่กรีซ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเร่งดับไฟป่าบนเกาะคีออส ที่เริ่มไหม้ตั้งแต่เช้าตรู่วันเสาร์ โดยมีลมแรงกระพือไฟป่าให้ไหม้ลามไปไกลระยะทาง 25 กิโลเมตร กินพื้นที่กว่า 50,000 ไร่ รถดับเพลิง 21 คัน และอาสาสมัครหลายสิบคนกำลังช่วยกันควบคุมไฟป่าไม่ให้เข้าถึงหมู่บ้าน หลังจากไฟได้เผาทำลายสวนยาง ทำให้เกิดควันโขมงแผ่ปกคลุมไปทั่วเกาะ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเอเธนส์ แต่สามารถมองเห็นควันไฟได้ไกลถึงเกาะครีตทางใต้เลยทีเดียว


http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/60483/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AF-%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87--%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AA.html

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รายงานแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวที่ NORTHERN SUMATRA, INDONESIA
ขนาด: 5.2 ริกเตอร์
จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว: NORTHERN SUMATRA, INDONESIA
วันที่: 19 สิงหาคม 2555 08:57 น.
ละติจูด: 5° 09' 00'' เหนือ
ลองจิจูด: 94° 45' 36'' ตะวันออก
ความลึกจากระดับผิวดิน: 40 กิโลเมตร
เพิ่มเติม:

รายงานแผ่นดินไหวในรอบ 15 วัน
วันที่เวลาจุดศูนย์กลางละติจูดลองจิจูดขนาดลึกจากพื้นดินหมายเหตุ
19 ส.ค. 5508:57NORTHERN SUMATRA, INDONESIA5° 09' 00'' N94° 45' 36'' E5.2 40  
19 ส.ค. 5506:03ประเทศพม่า20° 28' 12'' N97° 45' 36'' E2.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
19 ส.ค. 5500:16SIMEULUE, INDONESIA2° 10' 12'' N96° 18' 36'' E4.4 43  
18 ส.ค. 5522:31HALMAHERA, INDONESIA2° 39' 36'' N128° 44' 24'' E5.6 40  
18 ส.ค. 5516:58SULAWESI, INDONESIA1° 04' 12'' S119° 58' 12'' E4.9  
18 ส.ค. 5516:15ประเทศพม่า20° 34' 12'' N97° 55' 48'' E3.0  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 ส.ค. 5515:58SUMBA REGION, INDONESIA9° 25' 48'' S120° 41' 24'' E4.8 40  
18 ส.ค. 5514:45SULAWESI, INDONESIA1° 18' 36'' S120° 00' 00'' E4.7 10  
18 ส.ค. 5511:02ประเทศพม่า20° 19' 48'' N98° 03' 00'' E4.6  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 ส.ค. 5503:34ประเทศพม่า20° 21' 00'' N98° 01' 48'' E4.0  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 ส.ค. 5503:20TAIWAN23° 22' 48'' N121° 35' 24'' E4.9 20  
17 ส.ค. 5513:19ประเทศพม่า16° 22' 48'' N97° 52' 12'' E4.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
17 ส.ค. 5504:02BANDA SEA6° 11' 24'' S123° 15' 00'' E4.6 15  
17 ส.ค. 5500:41TAIWAN24° 04' 12'' N121° 31' 48'' E4.4 22  
16 ส.ค. 5509:56ประเทศพม่า19° 36' 36'' N97° 36' 00'' E2.6  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
15 ส.ค. 5507:24TAIWAN23° 45' 00'' N121° 28' 48'' E4.1 10  
14 ส.ค. 5518:22ประเทศพม่า20° 32' 24'' N98° 54' 36'' E3.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
14 ส.ค. 5517:55TAIWAN24° 00' 00'' N121° 40' 12'' E5.1 20  
14 ส.ค. 5509:06TAIWAN REGION23° 57' 36'' N122° 33' 36'' E4.8 30  
14 ส.ค. 5508:23ประเทศพม่า19° 05' 24'' N97° 45' 36'' E2.7  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
14 ส.ค. 5504:12OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 49' 48'' N92° 05' 24'' E4.7 20  
13 ส.ค. 5505:55HALMAHERA, INDONESIA1° 26' 24'' N127° 04' 12'' E4.3 60  
13 ส.ค. 5504:46OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 28' 48'' N91° 24' 36'' E4.3 15  
11 ส.ค. 5513:29RYUKYU ISLANDS, JAPAN25° 03' 36'' N126° 44' 24'' E4.8 30  
11 ส.ค. 5504:04MOLUCCA SEA1° 56' 24'' N126° 29' 24'' E4.7 49  
10 ส.ค. 5511:41NIAS REGION, INDONESIA1° 55' 12'' N96° 57' 36'' E5.2 20  
10 ส.ค. 5509:19HALMAHERA, INDONESIA1° 24' 00'' N127° 00' 36'' E5.0 80  
10 ส.ค. 5508:01อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์18° 11' 24'' N101° 00' 00'' E3.1  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
09 ส.ค. 5508:55SOUTHERN SUMATRA, INDONESIA4° 54' 00'' S103° 01' 12'' E4.5 64  
08 ส.ค. 5502:20KEPULAUAN TALAUD, INDONESIA3° 37' 48'' N126° 42' 00'' E4.8 80  
07 ส.ค. 5521:32SOUTH OF JAVA, INDONESIA9° 10' 12'' S112° 19' 12'' E4.7 73  
07 ส.ค. 5512:03MINDORO, PHILIPPINES13° 55' 12'' N120° 07' 48'' E4.9 30  
07 ส.ค. 5508:22ประเทศลาว20° 30' 00'' N100° 15' 00'' E2.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
07 ส.ค. 5506:13HALMAHERA, INDONESIA1° 13' 48'' N128° 51' 00'' E4.7 70  
06 ส.ค. 5516:47NIAS REGION, INDONESIA0° 44' 24'' N97° 04' 12'' E4.6 28  
05 ส.ค. 5522:36พม่า20° 10' 48'' N95° 53' 24'' E3.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
05 ส.ค. 5512:38อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่18° 13' 48'' N98° 42' 36'' E1.5  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
04 ส.ค. 5520:33OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 40' 12'' N92° 36' 00'' E4.9 10  
04 ส.ค. 5518:24NORTHERN SUMATRA, INDONESIA4° 55' 12'' N96° 18' 36'' E5.3 15  
04 ส.ค. 5509:00SOUTHERN SUMATRA, INDONESIA1° 49' 12'' S100° 21' 36'' E5.2 64  
04 ส.ค. 5505:43TAIWAN22° 48' 36'' N120° 47' 24'' E4.1 22  
03 ส.ค. 5507:57JAVA, INDONESIA8° 03' 36'' S107° 42' 36'' E4.5 66  
03 ส.ค. 5502:06MYANMAR26° 17' 24'' N96° 05' 24'' E5.1 33  
03 ส.ค. 5502:06MYANMAR-INDIA BORDER REGION26° 13' 12'' N95° 48' 36'' E5.1 33  
03 ส.ค. 5502:06MYANMAR26° 07' 48'' N96° 18' 36'' E5.1 60  
02 ส.ค. 5523:35ประเทศพม่า19° 24' 00'' N97° 39' 36'' E2.4  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
02 ส.ค. 5521:48NICOBAR ISLANDS, INDIA REGION9° 06' 36'' N93° 29' 24'' E4.8 20  
02 ส.ค. 5509:54พรมแดนประเทศพม่า-จีน21° 12' 36'' N100° 23' 24'' E3.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
02 ส.ค. 5504:58MYANMAR26° 10' 48'' N96° 19' 48'' E4.7 30  
01 ส.ค. 5507:32MINAHASA, SULAWESI, INDONESIA1° 25' 12'' N124° 36' 00'' E4.7 33  
01 ส.ค. 5507:20MINAHASA, SULAWESI, INDONESIA1° 33' 36'' N124° 34' 48'' E5.2 30  
31 ก.ค. 5521:43SOUTH OF JAVA, INDONESIA9° 30' 36'' S113° 15' 00'' E4.4 33  
31 ก.ค. 5521:07ประเทศพม่า18° 32' 24'' N97° 26' 24'' E2.3  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
31 ก.ค. 5513:50SOUTHERN SUMATRA, INDONESIA4° 55' 12'' S102° 53' 24'' E5.3 64  
31 ก.ค. 5509:35ประเทศพม่า20° 51' 36'' N100° 22' 48'' E3.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
30 ก.ค. 5522:43LUZON, PHILIPPINES17° 53' 24'' N120° 48' 00'' E4.6  
30 ก.ค. 5516:11ประเทศพม่า19° 18' 00'' N97° 42' 00'' E2.8  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
30 ก.ค. 5513:18NORTHERN SUMATRA, INDONESIA3° 15' 00'' N97° 12' 36'' E4.5 10  
29 ก.ค. 5523:05YUNNAN, CHINA23° 03' 36'' N101° 20' 24'' E4.3  
29 ก.ค. 5521:31อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย19° 12' 36'' N99° 29' 24'' E1.7  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
29 ก.ค. 5521:21SOUTHERN SUMATRA, INDONESIA5° 42' 36'' S104° 38' 24'' E5.2 80  
29 ก.ค. 5521:21SUNDA STRAIT, INDONESIA6° 02' 24'' S104° 21' 00'' E5.2 66  
29 ก.ค. 5521:21SUNDA STRAIT, INDONESIA6° 05' 24'' S104° 21' 00'' E5.2 60  
29 ก.ค. 5510:04MINDANAO, PHILIPPINES8° 02' 24'' N126° 41' 24'' E4.9 89  
29 ก.ค. 5510:04PHILIPPINE ISLANDS REGION8° 18' 36'' N127° 00' 00'' E5.0 10  
29 ก.ค. 5509:21MYANMAR22° 57' 00'' N94° 20' 24'' E5.7 80  
28 ก.ค. 5523:47ประเทศพม่า20° 37' 12'' N98° 27' 00'' E2.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
28 ก.ค. 5515:25ประเทศพม่า20° 18' 00'' N97° 15' 00'' E2.7  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
28 ก.ค. 5507:16แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว20° 01' 48'' N100° 48' 36'' E3.1  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
27 ก.ค. 5505:03LUZON, PHILIPPINES18° 34' 12'' N120° 55' 48'' E4.4 44  
27 ก.ค. 5502:45KEPULAUAN BABAR, INDONESIA7° 25' 12'' S129° 22' 12'' E4.5 84  
26 ก.ค. 5502:15MOLUCCA SEA0° 10' 48'' N124° 31' 12'' E4.9 60  
25 ก.ค. 5507:27SIMEULUE, INDONESIA2° 43' 12'' N96° 07' 48'' E6.4  
25 ก.ค. 5504:32ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่18° 53' 24'' N99° 00' 00'' E1.0  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
24 ก.ค. 5521:56MINAHASA, SULAWESI, INDONESIA1° 58' 12'' N122° 48' 36'' E4.4 10  
24 ก.ค. 5510:02MINDANAO, PHILIPPINES7° 43' 12'' N126° 40' 48'' E4.8 60  
23 ก.ค. 5520:21ประเทศพม่า20° 40' 12'' N99° 54' 00'' E3.1  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
22 ก.ค. 5516:39SIMEULUE, INDONESIA2° 38' 24'' N95° 49' 48'' E4.9 20  
22 ก.ค. 5509:11MYANMAR25° 03' 36'' N96° 24' 00'' E5.2 10  
22 ก.ค. 5500:49FLORES REGION, INDONESIA8° 04' 12'' S123° 45' 36'' E4.6 19  
21 ก.ค. 5523:58ต.หนองแหย่ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่18° 55' 48'' N99° 06' 36'' E.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
21 ก.ค. 5523:01FLORES REGION, INDONESIA8° 05' 24'' S123° 42' 36'' E4.6 33  
21 ก.ค. 5503:24KEPULAUAN TALAUD, INDONESIA3° 16' 12'' N126° 02' 24'' E4.9 10  
21 ก.ค. 5501:52OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 03' 00'' N93° 35' 24'' E4.7 30  
21 ก.ค. 5501:52OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA2° 03' 00'' N93° 35' 24'' E4.7 30  
21 ก.ค. 5501:30ต.ท่าผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน19° 34' 12'' N97° 58' 12'' E1.9  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
21 ก.ค. 5501:14FLORES REGION, INDONESIA8° 06' 00'' S123° 32' 24'' E5.6 46  
 เวลาไทย   ริกเตอร์กิโลเมตร 
http://www.tmd.go.th/earthquake_report.php

Ring of Fire

Map plate tectonics world.gif

วงแหวนแห่งไฟ (อังกฤษPacific Ring of Fire หรือ the Ring of fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75% ของภูเขาไฟคุกกรุ่นทั้งโลก[1] ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt
แผ่นดินไหวประมาณ 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ นอกจากวงแหวนแห่งไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 17% ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 5-6% ของทั้งโลก[2][3]
ภูเขาไฟมายอน ประเทศฟิลิปปินส์
การปะทุของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1980
วงแหวนแห่งไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก[4] แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนาซคาและแผ่นโคคอส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนดีฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนแห่งไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบัวเกนวิลเลประเทศตองกา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็น แนวอัลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนแห่งไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนซานอันเดรียส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์เมื่อ ค.ศ. 1929 แผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ในปี ค.ศ. 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา) และแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ริกเตอร์ในปี 1970[5]
ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ เช่น ภูเขาไฟวิลลาร์ริกา ประเทศชิลี ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ได้พ่นเถ้าถ่านออกมากว่า 1.2 ลูกบาศก์กิโลเมตร ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1707 ภูเขาไฟพินาตูโบ มายอน ทาล และคานลายอน ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งภูเขาไฟพินาตูโบเคยเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1991 ภูเขาไฟแทมโบรา เคลูด และเมราปี ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟลูอาเปทู ประเทศนิวซีแลนด์ และภูเขาไฟเอเรบัส ทวีปแอนตาร์กติกา
ภูเขาฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในแนววงแหวนแห่งไฟนี้ เช่น แผ่นดินไหวคาสคาเดีย มีขนาด 9 ริกเตอร์ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1700แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา ในแคลิฟอร์เนีย แผ่นดินไหวภาคคันโต ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1923 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 คน แผ่นดินไหวเกรตฮันชินในปี 1995 และครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้ คือแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 2004 บริเวณมหาสมุทรอินเดียขนาด 9.3 ริกเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ถูกถล่มด้วยคลื่นขนาด 10 เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 230,000 คน
ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟ ได้แก่ ประเทศเบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลีคอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาตี เม็กซิโกนิวซีแลนด์ นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองกา ตูวาลู และสหรัฐอเมริกา